โรงเรียนบ้านเลียบ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
 

  • ประวัติ โรงเรียนบ้านเลียบ
  • โรงเรียนบ้านเลียบ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๘๒ เป็นโรงเรียนประชาบาล ตำบลบึงแก

      (วัดบ้านเลียบ)  มีนักเรียนจำนวน ๗๙ คน จัดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ โดยมีนายเลื่อน ประทุมรัตน์ นายอำเภอฟ้าหยาด พร้อมชาวบ้านเลียบเป็นผู้ตั้งขึ้น มี นายทับ สายหอม   เป็นครูใหญ่คนแรกและใช้ศาลาวัด         เป็นสถานศึกษา

              ในปีพ.ศ. ๒๔๘๓ นายโกศล ศรีหาวงค์ เป็นครูใหญ่และได้ย้ายสถานศึกษามาปลูกสร้างเป็นอาคารเรียนเอกเทศ และในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ นายแสง เมฆชุม นายชุนนิวัฒน์ สุขประชา ได้บริจาคที่ดินจำนวน ๓ ไร่ ๒ งาน ๖๔ ตารางวาให้เป็นสมบัติของโรงเรียนก็คือแปลงที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบันนี้  ผู้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และเหตุที่เปลี่ยนแปลงตามลำดับ

              พ.ศ. ๒๔๘๒   นายทับ  สายหอม ครูใหญ่ คนแรก ได้อาศัยวัดเป็นสถานศึกษา

              พ.ศ.  ๒๔๘๓-๒๔๘๖       นายโกศล  ศรีหาวงศ์ เป็นครูใหญ่ได้อาศัยศาลาวัดเป็นสถานศึกษาตลอดมา        ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ ครูใหญ่และคณะครูในโรงเรียนได้จัดหาที่ดินโดยมีผู้บริจาคให้ใช้เป็นที่ปลูกสร้างโรงเรียน และได้รับเงินงบประมาณจากทางราชการปลูกสร้างเป็นอาคารเรียนเอกเทศถาวร

              พ.ศ. ๒๔๘๗- ๒๔๘๘       นายหอม อาจแสงเป็นครูใหญ่

              พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๔๘๙      นายเสถียร  แนวบุตรเป็นครูใหญ่

              พ.ศ. ๒๔๘๙-  ๒๕๐๔      นายวิรัช  แนวกันยา  เป็นครูใหญ่

    นายแสง  เมฆชุ่ม ครูในโรงเรียนเห็นว่าอาคารเรียนชำรุดมาก คณะครูในโรงเรียนจึงได้ร่วมกับประชาชนหาเงินซื้อและปลูกสร้างใหม่โดยใช้วัสดุอุปกรณ์เก่าและหาใหม่เพิ่มเติม ในโอกาสนี้ นายแสง เมฆชุ่ม นายลุย นายลี และชุนนิวัฒน์  สุขประชา ได้บริจาคที่ดินให้เป็นที่ปลูกสร้างโรงเรียน  รวมเป็นที่ดินทั้งหมด ๔ ไร่ สร้างเป็นอาคารเรียนถาวร  เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงสังกะสี เสร็จเรียบร้อย  โดยความร่วมมือของคณะครูและประชาชนและใช้ประโยชน์ ใช้เป็นสถานศึกษาในวันที่  ๖  เดือน พฤษภาคม   พ.ศ.๒๕๐๒

              พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๕      นายนครบวรศักดิ์  อ่อนสนิท เป็นครูใหญ่

              พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๐๗      นายวิฑูรย์  เหมือนชาติ  เป็นครูใหญ่

              พ.ศ. ๒๕๐๗- ๒๕๐๗       นายจอมตรัย  บุญเอก  เป็นครูใหญ่

              พ.ศ. ๒๕๐๙ - ๒๕๑๒      นายวิทูรย์  กรแก้ว  เป็นครูใหญ่

              พ.ศ. ๒๕๑๒- ๒๕๑๔       นายพิมล  ศรีหาคุณ  เป็นครูใหญ่

              พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๗      นายอัมพันธ์  ศิริบูรณ์ เป็นครูใหญ่

              พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๒๖      นายช่วง  สุวรรณเพชร  เป็นครูใหญ่

    คณะครูและประชาชนได้บริจาคเงินสมทบทุน ทำลูกกรงด้านหน้าอาคารเรียนแทนของเดิมที่ชำรุด ในปี พ.ศ.๒๕๑๗

    ทางราชการให้งบประมาณปลูกสร้างบ้านพักครู ๑ หลัง

     

     

     

     

     

     

              เมื่อวันที่  ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ ทางราชการได้ให้งบประมาณปลูกสร้างอาคารเรียนหลังใหม่

    แบบ ป.๑ ช  ๔ ห้องเรียน และได้รื้ออาคารเรียนหลังเดิม สร้างหอประชุมของโรงเรียน ขนาด ๗+๑๖ ตารางเมตร        สิ้นเงิน ๕,๔๐๐ บาท โดยมิได้ใช้งบประมาณของทางราชการ

              พ.ศ.๒๕๒๐ ทางราชการให้งบประมาณสร้างบ้านพักครูหลังที่สอง

    พ.ศ.๒๕๒๑  เปิดเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

              พ.ศ.๒๕๒๒ทางราชการให้งบประมาณสร้างส้วม ๑ หลัง ๓ ที่ และในปีเดียวกันโรงเรียนได้ทำรั้วคอนกรีต ด้านหน้ายาว ๘๕  เมตร

              พ.ศ.๒๕๒๓  ทางราชการให้งบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์  (โรงฝึกงาน) แบบ บส.๒๐๑

     จำนวน ๑ หลัง

              พ.ศ.๒๕๒๔   สร้างถังเก็บน้ำฝน

              พ.ศ.๒๕๒๕  ทางราชการให้งบประมาณสร้างส้วม ๑ หลัง ๒ ที

              พ.ศ.๒๕๒๖  นายช่วง สุวรรณเพชร ครูใหญ่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนบ้านบากเรือ

    นายขจร ชาตาดี ย้ายมาแทน

              พ.ศ.๒๕๒๗ ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์และแรงงานสร้างห้องสมุดเอกเทศ

    มูลค่า ๑๐,๐๐๐ บาท  ให้โรงเรียน และคณะผ้าป่าสามัคคีจากกรุงเทพ ได้บริจาคเงินสร้างเสาธงให้โรงเรียน           เป็นเงิน ๔,๕๐๐  บาท

              พ.ศ.๒๕๒๘  พระครูไพศาล สมณกิจ เจ้าคณะตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

    พร้อมด้วยคณะญาติโยม นำพระพุทธรูป ๒ องค์ หน้าตัก ๑๔ นิ้ว  และ ๑๙  นิ้ว พร้อมด้วย โต๊ะหมู่บูชา ชุด ๗           มามอบ  ให้โรงเรียนและนางสมเวียง  กาญจนวัฒนา ได้นำพัดลมติดเพดานมามอบให้โรงเรียนด้วย

              พ.ศ.๒๕๒๙  พระครูไพศาล สมณกิจ พร้อยด้วยชาวบ้านเลียบ และอาสาสมัครโครงการ

    ศึกษาชุมชน มูลนิธีโกมล คีมทอง ได้ร่วมกันบริจาคสร้างที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ๑  หลัง

    สิ้นงบประมาณ ๕,๐๐๐ บาท  และทางราชการได้ให้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง แบบ สปช. ๑๐๒/๒๕๒๒ จำนวน ๓ ห้องเรียน ใช้เงินงบประมาณ ๔๒๐ ,๐๐๐ บาท และในปีนี้  นายโสม  บุญเกื้อ นักการภารโรง ได้ขุดบ่อน้ำและซื้อปั้มน้ำไฟฟ้ามอบให้โรงเรียน

              พ.ศ.๒๕๓๐  ทางราชการได้ให้งบประมาณสร้างเรือนเพาะชำ ๑ หลัง แบบ พ.๑ ใช้งบประมาณ ๑,๕๐๐  บาท

              พ.ศ.๒๕๓๒  คณะผ้าป่าสามัคคี และชาวบ้านเลียบได้สร้างสนามวอลเล่ย์บอลคอนกรีตมอบให้โรงเรียน        คิดเป็นมูลค่า ๑๑,๐๐๐ บาท และปีเดียวกันนี้นายขจร  ชาตาดี ครูใหญ่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนโนนกอย    นายพันคิด ชารีนิวัฒน์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน และโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างส้วมแบบ สปช ๖๐๑/๒๕๒๖

    ๑  หลัง ๔  ที่ เป็นเงิน ๕๕,๐๐๐ บาท และสร้างถังเก็บน้ำแบบ ฝ.ตต. ๑ หน่วย เป็นเงิน ๔๗,๘๐๐ บาท

              พ.ศ.๒๕๓๔ คณะ กรรมการศึกษา ชาวบ้านและคณะผ้าป่าสามัคคีจากกรุงเทพ ได้บริจาคทรัพย์และแรงงาน ช่วยกันสร้างห้องเรียนเด็กเล็กเป็นเอกเทศ มูลค่า ๔๐,๐๐๐ บาท มอบให้โรงเรียน และทางราชการได้ให้งบประมาณติดตั้งไฟฟ้าในโรงเรียน จำนวน ๔๒,๑๗๕ บาท

              ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๔  นายพันคิด ชารีนิวัฒน์ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านปอแดง นางสาวพรทิพย์  เตียวพานิชญ์กิจ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านดอนผึ้ง ได้ย้ายมาดำรงแทน

              พ.ศ.๒๕๓๕  คณะกรรมการหมู่บ้าน ได้เห็นพร้อมกันให้ขุดบ่อน้ำตื้นที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากจังหวัดยโสธรในบริเวณโรงเรียน และพร้อมกันนี้ คณะผ้าป่าสามัคคีจากกรุงเพท จัดสร้างถังพักน้ำแบบง่าย ๆ และวางท่อจ่ายน้ำไปยังบริเวณต่าง ของโรงเรียน คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๘๘๕๐๐ บาท ให้โรงเรียน

              พ.ศ.๒๕๓๖  ได้เปิดทำการสอนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ตามนโยบายของรัฐ ในปีนี้โรงเรียนได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากจังหวัดยโสธร เป็นโรงเรียนดีเด่นเพื่อขอรับรางวัลพระราชทาน

    ปีการศึกษา ๒๕๓๖ อันดับที่ ๓  ของจังหวัดยโสธร ประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก  และในปีงบประมาณ ๒๕๓๖ คณะกรรมการหมู่บ้านได้เห็นพร้อมกันให้สร้างถังเก็บน้ำฝน รูปทรงสี่เหลี่ยม ปริมาตร ๕๐

     ลูกบาตรเมตร ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทย ไว้ที่โรงเรียน จำนวน ๑ ถัง เพื่อกักเก็บน้ำสะอาดไว้ให้บริการแก่นักเรียน ครู และชาวบ้าน และในปี ๒๕๓๖  คณะผ้าป่าสามัคคีได้มอบ  กลองพาเหรด จำนวน ๑ ชุด มูลค่า ๑๐,๐๐๐  บาท ให้แก่โรงเรียน

              พ.ศ.๒๕๓๗ ชาวบ้าน คณะกรรมการศึกษาและคณะผ้าป่าสามัคคีได้ร่วมกันบริจาคซ่อมแซมบ้านพักครู    อาคารเรียนหลังเดิมที่ชำรุด (ลูกกรงระเบียง,หน้าต่าง)  และต่อเติมที่ว่างระหว่างอาคารเรียนหลังที่สอง

    กับห้องเด็กเล็ก เป็นที่เก็บอุปกรณ์

              และปีการศึกษา ๒๕๓๗ นี้ ได้ปรับเปลี่ยนชั้นเด็กเล็ก เป็นชั้นอนุบาล ๒ ในปีการศึกษา ๒๕๓๗โรงเรียนได้เปิดสอนจาก ชั้นอนุบาล ๑,๒ และประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ รวมเป็น ๘ ชั้นเรียน

              พ.ศ. ๒๕๕๒ ชาวบ้าน คณะกรรมการศึกษาและคณะผ้าป่าสามัคคีได้ร่วมกันบริจาคสร้างห้องคอมพิวเตอร์  พร้อมคอมพิวเตอร์   มูลค่า ๖๐๐,๐๐๐  บาท

              พ.ศ.  ๒๕๕๓  ชาวบ้านคณะ กรรมการศึกษาและคณะผ้าป่าสามัคคีได้ร่วมกันบริจาคและจัดหาเงินทุน  ยกพื้นอาคารเรียนสูงขึ้นเป็นอาคาร ๒ชั้น  ชั้นล่างจัดทำเป็นอาคารเรียน  ๔ ห้องเรียน  มูลค่า  ๕๘,๐๐๐  บาท

              พ.ศ. ๒๕๕๔  ชาวบ้านคณะ กรรมการศึกษาและคณะผ้าป่าสามัคคีได้ร่วมกันบริจาคและจัดหาเงินทุน  ทำลานกีฬา เทพื้นคอนกรีต และทำถนนคอนกรีต ทางเข้า – ทางออก  มูลค่า ๑๒,๐๐๐  บาท


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-11-18 14:40:03 น.

โรงเรียนบ้านเลียบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 โทรศัพท์: 0810071343 อีเมล์: [email protected]
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]