โรงเรียนบ้านตาดทอง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
 

  • แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน โรงเรียนบ้านตาดทอง
  •  ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง

                  เป้าประสงค์ที่  สถานศึกษามีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

              กลยุทธ์ 1  เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข          

     แนวทางการดำเนินงาน

              1.1  น้อมนำแนวพระราชดำริ สืบสานพระราชปณิธาณและพระบรมราโชบายด้านการศึกษา หรือ”ศาสตร์พระราชา” มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่นยืน

               1.2  ปลูกฝังและเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย ความสามัคคี สมานฉันท์ สันติวิธี ต่อต้านการทุจริต  คอรัปชั่น และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

              1.3  เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ผ่านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความเป็นพลเมือง

              กลยุทธ์ 2 ปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

     แนวทางการดำเนินงาน

              2.1 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน ที่เอื้อต่อการพัฒนา

    คุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

              2.2 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น อาชญากรรม และความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ สิ่งเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์

     

            ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

    เป้าประสงค์ที่ 3 นักเรียนระดับระดับก่อนประถมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย มีคุณภาพตามมาตรฐาน และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

              เป้าประสงค์ที่ 4  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สถานศึกษา นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ                    พอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการและเป็นกลไกขับเคลื่อนในการจัดการศึกษา

              เป้าประสงค์ที่ 5 นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

              เป้าประสงค์ที่ 8  หน่วยงานทุกระดับพัฒนาสื่อ  เทคโนโลยี และระบบข้อมูลสารสนเทศ

     

     

    เพื่อการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และงานวิจัยที่สามารถนำผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

    กลยุทธ์ 1  เสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพด้วยการปรับหลักสูตรการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม

              แนวทางการดำเนินงาน

                            1.1 ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยและหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                             1.2 ส่งเสริมการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ และจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตร ตามความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม

                            1.3 ส่งเสริมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีทักษะ และความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ  และภาษาอาเซียนอย่างน้อย 1 ภาษา

                            1.4 พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลทุกระดับ ให้มีคุณภาพและมาตรฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ

    กลยุทธ์  2  พัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนรู้

              แนวทางการดำเนินงาน

                            2.1 พัฒนาผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษา ให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้มีความพร้อมเข้าสู่การเรียนในระดับสูงขึ้น

                           2.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ตามช่วงวัยและมีนิสัยรักการอ่าน

                           2.3 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้เรียนผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning) เน้นทักษะกระบวนการ ให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์  คิดคำนวณ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน

                           2.4 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

                           2.5 ปลูกฝังทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย

                           2.6 สนับสนุนการผลิต จัดหาและใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายรวมทั้งการพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ

                           2.7 ส่งเสริมการจัดหลักสูตรทักษะด้านอาชีพแก่ผู้เรียน

                           2.8 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ) ให้เต็มตามศักยภาพด้วยรูปแบบที่เหมาะสม

                           2.9 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพอย่างเข้มแข็งต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

           กลยุทธ์  3 สร้างความสามารถในการแข่งขัน

                     แนวทางการดำเนินงาน

                            3.1 ยกระดับผลการประเมินระดับนานาชาติตามโครงการ PISA (Programme for International Student Assessment)

                           3.2 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์   และด้านอื่น ๆ

                           3.3 ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบสหวิทยาการ เช่น สะเต็มศึกษา (Science  Technology  Engineering and Mathematics Education : STEM Education) เพื่อพัฒนากระบวนการคิด  และการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0     

              กลยุทธ์  4 ส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

    แนวทางการดำเนินงาน

                            4.1 ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา

                           4.2 ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้การวัดและประเมินผลโดยเน้นให้มีการวิจัยในชั้นเรียน

    ยุทธศาสตร์ที่ 3  ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

              เป้าประสงค์ที่ 6 ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวัฒนธรรมการเรียนรู้และการ

    ทำงานร่วมกัน ในรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และมุ่งผลสัมฤทธิ์

              เป้าประสงค์ที่ 8 หน่วยงานทุกระดับพัฒนาสื่อ  เทคโนโลยี และระบบข้อมูลสารสนเทศ

    เพื่อการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และงานวิจัยที่สามารถนำผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

                        กลยุทธ์  1 พัฒนาครูและบุคลากรทาการศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ในรูปแบบที่หลากหลาย

                        แนวทางการดำเนินงาน

                              1.1 พัฒนาครูในรูปแบบ TEPE (Teachers and Educational Personals Enhancement Based on Mission and Functional Areas as Majors)

                              1.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามแนวทางชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community:PLC)

                              1.3 ส่งเสริมและพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้เรียนผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning)

    กล่องข้อความ: 30                   กลยุทธ์  2 พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                        แนวทางการดำเนินงาน

                              2.1 กำหนดแผนอัตรากำลัง การสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง จัดระบบการประเมิน

    และการพัฒนาต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

                              2.2 สร้างแรงจูงใจให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญและกำลังใจในการทำงาน

                        กลยุทธ์ 3  ส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัย และนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

                        แนวทางการดำเนินงาน

                              3.1 ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา

                              3.2 ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลโดยเน้นให้มีการวิจัยในชั้นเรียน

              ยุทธศาสตร์ที่ 4  ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

              เป้าประสงค์ที่  2 ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค

              เป้าประสงค์ที่  3 นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน

    มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย มีคุณภาพตามมาตรฐานและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21

            กลยุทธ์ 1 เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

                      แนวทางการดำเนินงาน

                             1.1 ส่งเสริมประชากรวัยเรียนทุกคนให้ได้รับโอกาสในการเข้ารับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและเสมอภาค

                           1.2 สร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบส่งเสริมความประพฤตินักเรียน ระบบคุ้มครองนักเรียน และการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม

           กลยุทธ์ 2  ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

                     แนวทางการดำเนินงาน

                          2.1 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาที่เหมาะสม สำหรับเด็กด้อยโอกาสที่ไม่อยู่ในทะเบียนราษฎร เช่น เด็กไร้สัญชาติ เด็กพลัดถิ่น เด็กต่างด้าว เด็กไทยที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน เป็นต้น

                          2.2 ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance learning information technology : DLIT) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ฯลฯ

     ยุทธศาสตร์ที่ 5  จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

           เป้าประสงค์ที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สถานศึกษา นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการและเป็นกลไกขับเคลื่อนในการจัดการศึกษา

      เป้าประสงค์ที่ 5 นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    กลยุทธ์ 1  จัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต

     แนวทางการดำเนินงาน

                  1.1 ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

                           1.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้

     แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                           1.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    กลยุทธ์ 2 ส่งเสริมทักษะการดำเนินชีวิตตามกรอบหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    แนวทางการดำเนินงาน

                              1.1 น้อมนำแนวพระราชดำริ สืบสานพระราชปณิธาณและพระบรมราโชบายด้านการศึกษา หรือ”ศาสตร์พระราชา” มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่นยืน

                              2.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  สู่การเรียนการสอนและการดำรงชีวิต

                          2.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา

                              2.4 มีระบบการกำกับ ติดตาม นิเทศ การบริหาร และการจัดการเรียนรู้ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน

    ยุทธศาสตร์ที่ 6  พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วม

                          เป้าประสงค์ที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีการบริหารจัดการ                   ตามหลักธรรมาภิบาล

     เป้าประสงค์ที่ 7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เน้นการทำงานแบบบูรณาการโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม และกระจายอำนาจความรับผิดชอบสู่สถานศึกษา

     กลยุทธ์ 1  พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

     แนวทางการดำเนินงาน

              1.1 สร้างเครือข่ายธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และเครือข่ายคุณภาพการศึกษา

             1.2 บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาลตรวจสอบได้

              กลยุทธ์ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

      แนวทางการดำเนินงาน

                       2.1 พัฒนาระบบการวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

                      2.2 พัฒนาระบบงบประมาณและการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                     2.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการศึกษา ที่มีมาตรฐานเชื่อมโยงและเข้าถึงได้

                     2.4 การสร้างความเข้มแข็ง และยกระดับคุณภาพสถานศึกษาตามบริบทของพื้นที่ เช่น โรงเรียนประชารัฐ (ดีใกล้บ้าน) โรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนมาตรฐานสากล

                     2.5 ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง

                     2.6 ยกย่องเชิดชูเกียรติ สถานศึกษา และครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์

              กลยุทธ์ 3  สร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

    แนวทางการดำเนินงาน

                     2.1 ส่งเสริมการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (Area-base Management)  รูปแบบการบริหารแบบกระจายอำนาจ “CLUSTERs” เป็นต้น

                     2.2 จัดทำแผนบูรณาการจัดการศึกษาร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการภาค

                     2.3 สร้างความเข้มแข็งในการยกระดับคุณภาพการศึกษารูปแบบเครือข่าย

                     2.4 ส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนด้วยพลังประชารัฐอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

    กลยุทธ์ 4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้เรียน

    แนวทางการดำเนินงาน

              4.1 ส่งเสริม สนับสนุนผู้ปกครอง ชุมชน สังคม และสาธารณชน ให้มีความรู้

    ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกำกับดูแล ตลอดจนการส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

              4.2 ส่งเสริมการระดมทรัพยากรและการลงทุนจากภาคีเครือข่ายหรือภาคประชาสังคมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากทุกภาคส่วนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ตัวชี้วัด

              สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1  ได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จแยกตาม

    ยุทธศาสตร์ ดังนี้

           ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง

        1. ร้อยละ100 ของนักเรียนได้รับการสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

        2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและ

    ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

        3. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้     

     ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

        4. ร้อยละ 100 ของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย

        5. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้

    ตัวชี้วัดเกณฑ์การจบการศึกษาและการบริหารจัดการหลักสูตร ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560

       6. ร้อยละ 100 ของผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

       7. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษามีกระบวนการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย

       8. ร้อยละ 100 ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นอ่านออกเขียนได้ตามเกณฑ์ที่ สพฐ. กำหนด        

       9. ร้อยละ 100 ของนักเรียนอ่านหนังสือตามเกณฑ์ที่ สพฐ.กำหนด

       10. ร้อยละ 100 ของผู้เรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการเรียนรู้ในการปฏิบัติจริงตามสภาพความต้องการ และบริบทของแต่ละพื้นที่

       11. ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่มีคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(O-NET)มากกว่า

    ร้อยละ 50 เปรียบเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา

       12. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาที่สอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตองต้นได้รับการเตรียม

    ความพร้อมในการประเมินระดับนานาชาติตามโครงการPISA

     ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

        13. ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ

        14. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ระดับดีขึ้นไป

    ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 

        15. ร้อยละ 100 ของประชากรวัยเรียนได้รับโอกาสในการเข้ารับการศึกษาภาคบังคับเพิ่มขึ้น

        16. ร้อยละ100 ของนักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับได้รับโอกาสในการศึกษาต่อขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น

    ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

        17. ร้อยละ 100 ของผู้เรียนระดับการศึกษามีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรมและการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น

     

    ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษา

          18. อัตราออกกลางคันของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานลดลง

          19. ร้อยละของสถานศึกษาและหน่วยงานทุกระดับร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ฯลฯ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

     



    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2023-07-12 08:35:16 น.

โรงเรียนบ้านตาดทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 โทรศัพท์: 0954169667 อีเมล์: [email protected]
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]