โรงเรียนบ้านตาดทอง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
 

  • ประวัติ โรงเรียนบ้านตาดทอง
  • ส่วนที่  1

    บทนำ

    ข้อมูลพื้นฐาน

                โรงเรียนบ้านตาดทอง  ตั้งอยู่หมู่ที่  12  ถนนแจ้งสนิท   ตำบลตาดทอง  อำเภอเมืองยโสธร  จังหวัด

    ยโสธร  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต  1  มีเขตบริการ  6  หมู่บ้าน  ได้แก่  หมู่ที่  1  หมู่ที่ 4  หมู่ที่  9  หมู่ที่  11  บ้านตาดทอง   หมู่ที่  2  บ้านคอนสายและหมู่ที่  12  บ้านประชาสรรค์  

            ในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2559  รับนักเรียนจากโรงเรียนบ้านหนองแฝก  ซึ่งมีเขตบริการ

    หมู่ที่  4 บ้านหนองแฝกและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านสะเดา  ซึ่งมีเขตบริการจากหมู่ที่  5  หมู่ที่  6  และหมู่ที่  13  บ้านสะเดา  ตำบลตาดทอง  มาเรียนร่วมในโครงการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก   จนถึงปัจจุบัน

              ประวัติโรงเรียนบ้านตาดทอง

              โรงเรียนบ้านตาดทอง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่  16  มกราคม  พ.ศ. 2466  โดยรองอำมาตย์ตรีขุนพันธนากร 

    เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง  แรกก่อตั้งใช้ศาลาวัดโพธิ์ศรีมงคลบ้านตาดทองเป็นสถานที่เรียนโดยมีนายน้อย  จิตตะยโศธร  เป็นครูใหญ่คนแรก  ใช้เงินศึกษาพลีในช่วงแรกก่อตั้ง

              ปัจจุบัน โรงเรียนตั้งอยู่ถนนแจ้งสนิท  หมู่ 12  บ้านประชาสรรค์  ตำบลตาดทอง  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร

    ต้นสังกัดของโรงเรียน

                  -  แรกก่อตั้งโรงเรียน  สังกัดกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ

                  -  วันที่  1  ตุลาคม  2509  โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี  กรมการ

    ปกครองกระทรวงมหาดไทย

                  -  วันที่  1  ตุลาคม  2523  โอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

    (สปช.)  กระทรวงศึกษาธิการ

                  -  วันที่  7  กรกฎาคม  2546  โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 

    กระทรวงศึกษาธิการ

    งบประมาณที่โรงเรียนเคยได้รับ

    • พ.ศ. 2484  สร้างอาคารเรียน  แบบ ป.1 ช  จำนวน  1  หลัง  3  ห้องเรียน  ใช้เงิน  2,000  บาท

    (รื้อและจำหน่าย)

    - พ.ศ. 2492  คณะครู  ประชาชนร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียน  แบบ ป.2  จำนวน  1  หลัง  4

    ห้องเรียน  ทางราชการได้สนับสนุนต่อเติมชั้นล่าง  5,000  บาท  (รื้อและจำหน่าย)

                  -  พ.ศ. 2502  คณะครู  ประชาชนร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียน  แบบ ป.4  เพื่อเปิดสอนระดับชั้น

    มัธยม  เป็นเงิน  29,000  บาท  สมัยนายเสงี่ยม  โสธรวงศ์  เป็นครูใหญ่  (รื้อและจำแหน่าย)

                  -  พ.ศ. 2512  สร้างอาคารเรียนแบบ ป.004  จำนวน  1  หลัง  3  ห้องเรียน  งบประมาณ  70,000 

    บาท  และได้รับต่อเติมชั้นล่าง  3  ห้องเรียน  100,000  บาท  ในปี 2517

                  -  พ.ศ. 2517  สร้างอาคารเรียน  แบบ ป.1 ช  จำนวน  1  หลัง  4  ห้อง  เป็นเงิน  100,000  บาท

     

     

                  -  พ.ศ. 2519  สร้างอาคารอเนกประสงค์  1  หลัง  แบบ สปช. 105 – 26  งบประมาณ  820,000 บาท

                  -  พ.ศ. 2519  สร้างอาคารเรียน  แบบ 021  ใต้ถุนสูง  10  ห้องเรียน  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณ

    600,000  บาท (ปัจจุบันคืออาคาร 1)

                  -  พ.ศ. 2540  สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105 – 26  จำนวน  1  หลัง  4  ห้องเรียน  และต่อเติม

    ชั้นล่าง  3  ห้องเรียน  งบประมาณ  1,800,000  บาท  (ปัจจุบันคืออาคาร 3)

    ความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่นและเอกชน

    โรงเรียนบ้านตาดทองได้รับความร่วมมือจากชุมชนและท้องถิ่น  ดังต่อไปนี้

                   -  พ.ศ. 2541  นางนรากรณ์  วรสันต์  บริจาคสร้างศาลาอเนกประสงค์ (อาคารกาญจน์วรสันต์) 

    เป็นเงิน  100,000  บาท

                   -  นายขวัญชัย  นางมารศรี  เวชกามา  บริจาคเงิน  21,000  บาท  สร้างอนุสาวรีย์รัชการที่ 6

                   -  นางสกุล  เตชะมาถาวร  บริจาคสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์  เป็นเงิน  30,000  บาท

                   -  อดีต ส.จ.คำดี  พรหมากอง  ประสานของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร

    ปรับปรุงระบบไฟฟ้า  อาคารอเนกประสงค์  งบประมาณ  27,000  บาท

                   -  คณะศิษย์เก่า  40  รุ่น  จัดงานครบรอบ  70  ปี  โรงเรียนบ้านตาดทอง  ร่วมกับคระครูและ

    กรรมการสถานศึกษา  ได้เงิน  178,812  บาท  อุปกรณ์สนับสนุนการศึกษา  183,600  บาท  จัดเป็นทุนการศึกษา  12,000  บาท  สมทบมูลนิธิ  70 ปี  ของโรงเรียน  25,000  บาท  มอบเป็นทุนพัฒนาโรงเรียน  65,458  บาท

                   -  จัดตั้งมูลนิธิ  70  ปี  โรงเรียนบ้านตาดทอง  ทุนจดทะเบียน  300,000  บาท

                   -  สร้างห้องสมุดโรงเรียนอนุสรณ์  70  ปี  ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  130,000  บาท

                   -  ผอ.เกรียงศักดิ์  บุญทวี  บริจาคจานดาวเทียม Ø 9 ฟุต  พ.ศ. 2548  เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางไกล

    ผ่านดาวเทียม

                   -  ได้รับมอบอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม  จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 

    กระทรวงศึกษาธิการ  เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณ  1  ชุด  โทรทัศน์สี  21  นิ้ว  12  โรงเรียนได้ดำเนินการติดตั้งให้นักเรียนชั้น ป.1 – 6  ได้เรียนรู้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  ในเดือนกรกฎาคม  2548  เป็นต้นมา

                   -  วันที่  13  พฤษภาคม  2549  คณะครูและกรรมการสถานศึกษามีมติจัดผ้าป่าการศึกษาสร้างถนน

    คอนกรีตเฉลิมพระเกียรติครองราชย์  60  ปี  และอนุสรณ์  84  โรงเรียนบ้านตาดทอง  โดยได้รับความเมตตาสนับสนุนจาก  พระวัชรธรรมาภรณ์  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์  กรุงเทพฯ  นำผ้าป่ามาสมทบกับหมู่บ้านและโรงเรียน  ได้ทุนมาสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  กว้าง  4  เมตร  หนา  0.12  เมตร  ยาว  237.50  เมตร  และทำทางเชื่อมถนนกับอาคารเรียน  3  เส้น  ยาว  30  เมตร  ค่าดำเนินการก่อสร้างทั้งสิ้น  372,476  บาท

     เสร็จช่วงแรกวันที่  13  กรกฎาคม  2549  ทำพิธีเปิดถนนในวันแม่แห่งชาติ  12  สิงหาคม  2549

    • วันที่  14  มกราคม  2550  คณะครู  กรรมการสถานศึกษา  โดยการนำของพระวัชรธรรมาภรณ์

    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์  ได้จัดผ้าป่าต่อเติมถนนคอนกรีตอีกครั้ง  ได้เงิน  263,434  บาท  คณะกรรมการสถานศึกษามีมติให้ช่างในหมู่บ้านดำเนินการก่อสร้างได้ถนนเพิ่ม  253.60  เมตร  รวมถนน  คสล.ที่สร้างเสร็จแล้ว  491.10  เครื่อง  เมตร  คงเหลือถนนเส้นกลางข้างสนามฟุตบอลอยู่อีก  89  เมตร  ก็จะเสร็จสมบูรณ์

                   -  พลเรือเอกฉกรรจ์  สุวรรณเสนีย์  อดีตศิษย์เก่าของโรงเรียน  มอบทุนผ้าป่าให้โรงเรียน  30,000 

    บาท  สร้างแท่นน้ำดื่มให้ผ่านเครื่องกรอง  หน้าอาคาร 3  ให้นักเรียนได้ดื่มน้ำสะอาดและโรงอาหารอีก  1  จุด

                   -  ปี  พ.ศ.  2554  คณะศิษย์เก่าร่วมบริจาคปรับปรุงอาคารโรงอาหารและต่อเติมห้องเรียนปฐมวัย

                   -  ปี  พ.ศ.  2556  คณะศิษย์เก่า  ผู้ปกครอง  ชุมชน  นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจน

    ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสร้างป้ายโรงเรียน

    -  ปี  พ.ศ.  2559  คณะศิษย์เก่า  ผู้ปกครอง  ชุมชน  นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจน

    ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสร้างรั้วและซุ้มประตูโรงเรียน

                   -  ปี  พ.ศ.  2561  คณะศิษย์เก่า  ผู้ปกครอง  ชุมชน  นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสร้างเสาธง

    หมู่บ้านเขตบริการของโรงเรียน

    โรงเรียนบ้านตาดทอง  มีนักเรียนจากหมู่บ้านในเขตพื้นที่บริการมาเข้าเรียน  คือ

    1. บ้านตาดทอง  หมู่ 1 ,  หมู่ 9 ,  หมู่ 11
    2. บ้านคอนสาย  หมู่ 2
    3. บ้านหนองแฝก  หมู่  4
    4. บ้านสะเดา  หมู่ 5  , หมู่  6 , หมู่  13
    5. บ้านประชาสรรค์  หมู่ 12

    การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

    แรกก่อตั้ง  -  โรงเรียนจัดการเรียนการสอน ชั้น ป.1 – 4

                                   -  พ.ศ. 2502  จัดการเรียนการสอน  ชั้น ป.1 – 4  และ ม.1 – 3

                                   -  พ.ศ. 2507  จัดการเรียนการสอน  ชั้น ป.1 – 7

                                   -  พ.ศ. 2521  จัดการเรียนการสอน  ชั้น ป.1 – 6

                               -  ปัจจุบันโรงเรียนจัดการเรียนการสอน  2  ระดับ  คือ  ระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – 6  และเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล  ในโครงการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก  ซึ่งมีโรงเรียนบ้านสะเดาและโรงเรียนบ้านหนองแฝกมาเรียนรวม  มีห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก  1  ห้องเรียน

     

     

     

     

     

    ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

              โรงเรียนบ้านตาดทอง มีผู้บริหารโรงเรียนตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจันถึงปัจจุบัน  ดังต่อไปนี้

    1. นายน้อย  จิตตะยโสธร         ครูใหญ่            พ.ศ. 2466 – 2467
    2. นายทอง  ขุมทอง              ครูใหญ่           พ.ศ. 2467 – 2467
    3. นายจูม  สุวรรณราช           ครูใหญ่           พ.ศ. 2467 – 2469
    4. นายอาน  ไชยวิเศษ            ครูใหญ่           พ.ศ. 2469 – 2470
    5. นายสินธ์  จิตตะยโสธร         ครูใหญ่           พ.ศ. 2470 – 2472
    6. นายเฉลิม  ณุวงษ์ศรี            ครูใหญ่           พ.ศ. 2472 – 2476
    7. นายพร  แสงพันธ์              ครูใหญ่           พ.ศ. 2476 – 2478
    8. นายผัน  วงษ์อนันต์            ครูใหญ่           พ.ศ. 2478 – 2487
    9. นายอ่อนจันทร์  ศรีใสคำ       ครูใหญ่           พ.ศ. 2487 – 2487
    10. นายผัน  วงษ์อนันต์            ครูใหญ่           พ.ศ. 2487 – 2494
    11. นายกมล  จิตตะยโสธร         ครูใหญ่           พ.ศ. 2494 – 2495
    12. นายเลี่ยม  โสธรวงษ์           ครูใหญ่           พ.ศ. 2495 – 2510
    13. นายสถิตย์  ยศสุนทร           ครูใหญ่           พ.ศ. 2510 – 2516
    14. นายโสม  วรสันต์               อาจารย์ใหญ่     พ.ศ. 2516 – 2525
    15. นายสุดใจ  ทับแสง             อาจารย์ใหญ่     พ.ศ. 2525 – 2532
    16. นายประมูล  วัฒนาไชย        อาจารย์ใหญ่     พ.ศ. 2532 – 2545
    17. นายสถิตย์  บันลือหาญ        ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2545 – 2548
    18. นายเกรียงศักดิ์  บุญทวี        ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2548 – 2552
    19. นายนิพนธ์  แซ่ตั้ง              รักษาราชการ    พ.ศ. 2552 – 2553
    20. นายสัมฤทธิ์  เวชกามา         ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2553 – 2554
    21. นายคำพอง  สารสร            ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2554 – 2558
    22. นายประครอง  จันทคง        ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2558 – 2561
    23. นายกำพล  พาภักดี            รักษาการ         พ.ศ. 2561 – 2562
    24. นางคัชรินทร์นี  ฝูงดี           รักษาการ         พ.ศ. 2562 -  2562
    25. นางสุรางค์  ศรีทราไชย           ผู้อำนวยการโรงเรียน  พ.ศ.  2562- ปัจจุบัน

     

     

     

     

     

     

    ที่ดินของโรงเรียน

    โรงเรียนบ้านตาดทอง เดิมมีที่ดินเป็นของโรงเรียน  2  แปลง

    1. แปลงที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน  เป็นที่ราชพัสดุ  ทะเบียน ยส.585  เนื้อที่  36  ไร่  2  งาน  2  ตารางวา
    2. แปลงสวนเกษตร  อยู่ติดถนนแจ้งสนิท  ตรงกันข้ามกับแปลงแรก  ยกให้เป็นที่ตั้งสำนักงานองค์การ

    บริหารส่วนตำบลตาดทอง  จัดหางานจังหวัดยโสธร  และสำนักงานประมงจังหวัดยโสธร

    1.  แปลงสวนป่าติดประตูทางเข้าโรงเรียนด้านทิศตะวันออกถึงถนนทางเข้าบ้านคอนสาย  ยกให้

    สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดยโสธร  และ  สำนักงานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยโสธร

     

     

     

     

     

     

    คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านตาดทอง

     

    ที่

    ชื่อ-สกุล

           ตำแหน่ง

    1

    นายบุญเรือง  คำไพ

    ประธานคณะกรรมการ

    2

    นายประสาท  วัฒนาไชย

    ผู้แทนผู้ปกครอง

    3

    นายชลวุฒิ  มหาชนะวงศ์          

    ผู้แทนชุมชน

    4

    นางประคองศรี  เวชกามา

    ผู้แทนศิษย์เก่า

    5

    นายพรทิพย์  จันทคง

    ผู้แทนท้องถิ่น

    6

    นายธีรกุล  เวชกามา

    ผู้แทนศาสนา

    7

    ด.ต.ประจักษ์  พันนา

    ผู้ทรงคุณวุฒิ

    8

    นางนวลสะอาด  สิงห์นันท์ 

    ผู้แทนครู

    9

    นางสุรางค์  ศรีทราไชย

    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาดทอง/

    เลขานุการ

     

               4.  อาคารเรียนอาคารประกอบ

                              ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านตาดทองมีอาคารเรียน  2  หลัง  อาคารอเนกประสงค์  1  หลัง  ห้องสมุด 

    1. หลัง  โรงอาหาร  1  หลัง  ส้วม  5  หลัง
    1. อาคาร 1  แบบ 021  อาคารไม้  2  ชั้น  ใต้ถุนสูง  10  ห้องเรียน  สร้าง พ.ศ. 2519

    งบประมาณ  100,000  บาท

    1. อาคาร 3  แบบ สปช. 105 – 26  จำนวน  1  หลัง  4  ห้องเรียน  ใต้ถุนสูง  ต่อเติมชั้นล่าง  3 

    ห้องเรียน  สร้าง พ.ศ. 2540 งบประมาณ  1,800,000  บาท

    1. อาคารอเนกประสงค์  แบบ 205 – 26  กว้าง  14  เมตร  ยาว  32  เมตร  สร้าง พ.ศ. 2527 

    งบประมาณ  820,000  บาท 

    1. อาคารห้องสมุดอนุสรณ์  70  ปี  โรงเรียนบ้านตาดทอง  ปรับปรุงอาคารเก่าเป็นห้องสมุด

    โดยคณะศิษย์เก่าและประชาชน  เมื่อวันที่  28  พฤษภาคม  2537

    1. อาคารกาญจน์วรสันต์  เป็นอาคารอเนกประสงค์  เพื่อประกอบพิธีในการแข่งขันกีฬา 

    สร้างบริเวณข้างสนามฟุตบอล  พ.ศ. 2546

    1. โรงอาหาร  1  หลัง

              5.  สนามกีฬา  จำนวน  4  สนาม  ได้แก่  สนามฟุตบอล   สนามวอลเลย์บอล  สนามตะกร้อ  และ

    สนามฟุตซอล

              6.  สภาพชุมชนโดยรวม 

                       สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนชานเมือง  เป็นชุมชนที่มีความสะดวกในการคมนาคม  ประชาชนประกอบอาชีพที่หลากหลาย  มีหน่วยงานราชการใกล้เคียงหลายหน่วยงาน  เช่น  สำนักงานประมงจังหวัดยโสธร  สำนักงานจัดหางานจังหวัดยโสธร  สำนักงานเทศบาลตำบลตาดทอง  สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยโสธร  ตลาดสดเทศบาลตำบลตาดทอง  โรงเรียนยโสธรพิทยาสรรค์  ธาตุก่องข้าวน้อย  เป็นต้น

              7.  การประกอบอาชีพ (ของผู้ปกครองนักเรียน)

                       ผู้ปกครองนักเรียนร้อยละ  30  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ร้อยละ  30  ประกอบอาชีพรับจ้าง  ร้อยละ  20  ประกอบอาชีพค้าขาย  ร้อยละ  15  ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท  และร้อยละ  5  ประกอบอาชีพอื่นๆ

              8.  การนับถือศาสนา

                       นักเรียนและผู้ปกครองส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ   คิดเป็นร้อยละ  99  ส่วนร้อยละ  1  นับถือศาสนาอื่นๆ

              9.  ฐานะทางเศรษฐกิจ  (ของผู้ปกครองนักเรียน)

                       ผู้ปกครองนักเรียนมีรายได้เฉลี่ย  36,000  บาท/ครอบครัว/ปี

              10.  ความสัมพันธ์กับชุมชน

                       โรงเรียนได้ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาสถานศึกษา

    โดยขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง  ชุมชน  ศิษย์เก่า  คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านตาดทอง  ผู้นำชุมชน  สถานที่ราชการและหน่วยงานใกล้เคียงเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

              11.  แหล่งเรียนรู้

    ตารางแสดงแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน 

    แหล่งเรียนรู้ภายใน

    แหล่งเรียนรู้ภายนอก

    •  อาคารเรียนและห้องเรียนต่างๆ
    • ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
    • ห้องคอมพิวเตอร์
    • ห้องสมุด
    • ห้องดนตรี
    • ห้องจริยศึกษา
    • ห้องสหกรณ์โรงเรียน
    • ห้องประชุม
    • ห้องพยาบาล
    • สนามเด็กเล่น
    • สนามกีฬา
    • สวนหย่อมในโรงเรียน
    • สวนกล้วย
    • สวนมะนาว
    • สวนป่าในโรงเรียน
    • โรงอาหาร
    • อาคารอเนกประสงค์
    • สวนสมุนไพร
    • สวน/แปลงผักในโรงเรียน
    • ต้นยางนาในโรงเรียน
    • โรงเรียนต่างๆในจังหวัดยโสธร
    • ธาตุก่องข้าวน้อย
    • ตลาดสดเทศบาลตำบลตาดทอง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

    ตาดทอง

    • โรงพยาบาลยโสธร
    • สำนักงานจัดหางานจังหวัดยโสธร
    • สำนักงานประมงจังหวัดยโสธร
    • สำนักงานเทศบาลตำบลตาดทอง
    • สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

    ยโสธร

    • วังมัจฉายโสธร(วัดบ้านกว้าง)
    • ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยโสธร
    • โรงงานผลิตเตาบ้านคอนสาย
    • โรงงานผลิตปลาส้มบ้านตาดทอง
    • ร้านจำหน่ายสังฆภัณฑ์
    • ตลาดนัดสีเขียว(หอนาฬิกา)
    • สวนสาธารณะพญาแถน
    • วิมานพญาแถน
    • เรือนจำจังหวัดยโสธร
    • วัดต่างๆในหมู่บ้านในเขตบริการ
    • พระอารามหลวงในเทศบาลเมืองยโสธร
    • สถานที่ราชการในอำเภอเมืองยโสธร
    • ธนาคารต่างๆ

     

             

     

     

     

              12.  ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ผู้ทรงคุณวุฒิ 

     

    ที่

    ชื่อ-สกุล

    สาขา/ด้าน

    1

    พระมหาอุดม  อุตโม

    •  พระพุทธศาสนา

    2

    นายยงยุทธ  หาระการณ์

    • ช่างตัดผมชาย

    3

    นางละอองดาว  บุปผา

    • ช่างตัดผมหญิง

    4

    นางวิทยา  ไชยบุตร

    • การปลูกผักอินทรีย์

    5

    นางบัวสา  ขันธ์โมลี

    • การทำพานบายศรี

    6

    นางสุทธาสินี  เวชกามา

    • การนวดแผนไทย

    7

    นางแดง  ไชยราช

    • ช่างปั้นเตา

    8

    นางวิไลวรรณ  เวชกามา

    • การประกอบอาหาร

    9

    นายบุญเรือง  คำไพ

    • การทำปุ๋ยชีวภาพ

    10

    นางละเอียด  เนตรวงษ์

    • การทำดอกไม้จันทน์

    11

    นายประภาส  วัฒนาไชย

    • ช่างก่อสร้าง

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ภารกิจของสถานศึกษา

    1. จัดทำนโยบาย  แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผน

    ของกระทรวงศึกษาธิการ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต  1

    1. จัดตั้งงบประมาณและรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
    2. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและ

    ความต้องการของนักเรียน  ชุมชนและท้องถิ่น

    1. จัดการเรียนการสอน  สภาพแวดล้อม  บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม  ส่งเสริม

    กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

    อย่างต่อเนื่อง

    1. ออกระเบียบ  ข้อบังคับ  ประกาศและแนวทางปฏิบัติต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด
    2. กำกับ  ติดตาม  ประเมินผลตามแผนงาน/โครงการ  และประเมินผลการปฏิบัติงาน  ตลอดจน

    การพิจารณาความดีความชอบ  การพัฒนาและการดำเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาตามกฎหมายกำหนด

    1. ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา  รวมทั้งปกครอง  ดูแล  บำรุงรักษา  ใช้และจัดหาผลประโยชน์

    จากทรัพย์สินของสถานศึกษา

    1. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  และให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพ

    การศึกษาจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา  รวมทั้งรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต 1  และผู้มีส่วนได้  ส่วนเสีย

    1. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถานศึกษาและสถาบันอื่น

    ในชุมชนและท้องถิ่น

    1. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวกับกิจการภายในสถานศึกษาหรือตามที่ได้รับมอบหมายและตาม

    ที่กฎหมายอื่นกำหนด

                                                       

     

    ส่วนที่  2

    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา

    1.  สภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษา

              สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนบ้านตาดทอง  ประกอบด้วยปัจจัย  4  ด้าน  ดังนี้

    1. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม  ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ห่างจากตัวเมืองยโสธรประมาณ 

    5  กิโลเมตร  สภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นชุมชนขนาดใหญ่  แนวโน้มของประชากรที่จะต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตบริการมีจำนวนลดน้อยลง  เนื่องจากอัตราการเกิดของเด็กและค่านิยมของผู้ปกครองที่ส่งลูกหลานเข้าไปเรียนในโรงเรียนยอดนิยมในตัวเมือง  จึงทำให้จำนวนนักเรียนในสถานศึกษามีจำนวนน้อยลง  ผู้ปกครองและชุมชนให้ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมการศึกษาของโรงเรียน  ทำให้การดำเนินงานกิจกรรมต่างๆเป็นไปด้วยความราบรื่น  ถือได้ว่าปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรคต่อการดำเนินงานของโรงเรียน  กล่าวคือ  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้นำชุมชน  ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษาสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน  จึงจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งผู้ปกครองมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายสามารถเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ในหลายด้าน  ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษาคือ  ผู้ปกครองบางส่วนมีอาชีพไม่มั่นคง  มีฐานะยากจน  ครอบครัวหย่าร้างนักเรียนต้องพักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง  ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยรวม  ตลอดจนปัญหาด้านสังคมที่ทำให้นักเรียนอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกี่ยวข้องในด้านยาเสพติด  การพนันบอล  ปัญหาการติดเกม  การติดโทรศัพท์มือถือ  เป็นต้น

    1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี  โครงสร้างพื้นฐานและการแพร่กระจายของเทคโนโลยีใน

    ชุมชน  เช่น  โทรศัพท์  ไฟฟ้า  สัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เนต  ทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีของนักเรียน

    และผู้ปกครองสามารถทำได้ง่าย  สะดวก  ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการบริหารจัดการ  การให้บริการและการพัฒนาการศึกษาให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  สามารถช่วยลดความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน  เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารรวดเร็วขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา  สำหรับด้านการศึกษาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน  การให้บริการแก่ผู้ปกครอง  ประชาชน  ชุมชนและสังคม  ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต  เป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสต่อการดำเนินภารกิจของโรงเรียนเป็นอย่างมาก  โดยโรงเรียนได้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพตอบสนองต่อความต้องการของผู้ปกครอง  ชุมชนและสังคม  ที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้และทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ดีในอนาคต  ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือ  ระบบสัญญาณของเครือข่ายอินเทอร์เนตไม่ดีพอ  นอกจากนี้  การดูแลซ่อมบำรุงวัสดุอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

     

     

    1. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ  ภาวะทางเศรษฐกิจและฐานะทางเศรษฐกิจ  ได้แก่รายได้ของ

    ผู้ปกครองและประชากรกลุ่มเป้าหมาย  ถือว่ามีรายได้น้อยเพราะผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป  นักเรียนส่วนมากพักอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่  รอรายรับจากพ่อ  แม่  ที่ไปทำงานที่ต่างจังหวัดส่งเงินมาให้  ทำให้ความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก  แต่ทั้งนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบประมารณตามนโยบายเรียนฟรี 15  ปี  ทำให้แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง  ในด้านการสนับสนุนปัจจัยด้านสื่อ  อุปกรณ์  เสื้อผ้า  ที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ไม่มากนัก   ถือเป็นส่วนอุปสรรคในการดำเนินงานด้านงบประมาณ  กล่าวคืองบประมาณมีจำนวนจำกัดและผู้ปกครองมีฐานะยากจน

    1. ปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย   เป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสต่อการดำเนินงานของ

    โรงเรียนเป็นอย่างมากเพราะพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ.  2545  และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ.  2553  ทำให้ครูมีการพัฒนาตนเองและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายมากขึ้น  นักเรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ  ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆจากชุมชน  ทำให้การพัฒนาการจัดการศึกษาได้ในระดับหนึ่ง  สำหรับอุปสรรคในการดำเนินงานตามภารกิจ  คือความไม่ต่อเนื่องของนโยบายจัดการศึกษา  เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาที่ยังไม่แล้วเสร็จ

    ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกตามปัจจัยทั้ง  4  ด้านดังกล่าวข้างต้น  สรุปได้

    ว่า  โรงเรียนบ้านตาดทอง  มีปัจจัยทีเป็นโอกาสมากกว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรค  กล่าวคือ  มีความพร้อมในการจัดการศึกษา  โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานต้นสังกัด  สามารถพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เกิดผลตามเป้าหมายของโรงเรียน  แต่ยังมีอุปสรรคอยู่บ้างคือการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม  เทคโนโลยีการสื่อสาร  ทำให้พฤติกรรมของเยาวชนปรับเปลี่ยนตามไปด้วย  อีกทั้งฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองนักเรียนไม่ดีเท่าที่ควร  ตลอดจนการสนับสนุนงบประมาณจากทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังจำกัดในด้านการเมืองและกฎหมาย

    2.  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา

              สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านตาดทอง  พิจารณาจากจุดแข็งและจุดอ่อนจาก  6  ปัจจัย  ดังนี้

                       2.1  ปัจจัยทางด้านโครงสร้างและนโยบาย  เป็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน  กล่าวคือ  โรงเรียนบ้านตาดทองมีการบริหารงาน  กำหนดวิสัยทัศน์  นโยบายและภารกิจที่ชัดเจน  ทำให้บุคลากรมีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ  เน้นการทำงานเป็นหมู่คณะ  ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ  สร้างขวัญและกำลังใจ  ลดการขัดแย้ง ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ  แต่ยังมีจุดอ่อนอยู่บ้างในเรื่องของการปฏิบัติตามนโยบายบางส่วนยังไม่ได้ประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เนื่องจากครูมีจำนวนจำกัด   ครูบางส่วนทำการสอนไม่ตรงวิชาเอก  แต่ก็ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนต้องปฏิบัติหน้าที่อื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานสอนควบคู่ไปด้วย

                       2.2  ปัจจัยด้านผลผลิตและการให้บริการ  ถือว่าเป็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน  กล่าวคือ  คุณภาพของนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตจากการให้บริการโดยเฉลี่ยมีคุณภาพมาตรฐาน  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์และผลการทดสอบระดับชาติอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ  อัตราการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นผู้ปกครองมีความพึงพอใจ  รวมถึงการให้บริการทางด้านปริมาณ  ถือว่าเป็นจุดแข็ง  เนื่องจากสามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่เขตบริการและประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย  จุดอ่อนอยู่ที่จำนวนนักเรียนในเขตบริการมีน้อย  เนื่องจากประชากรในวัยเรียนลดลง  ค่านิยมการเข้าไปเรียนในโรงเรียนยอดนิยม  การประกอบอาชีพและการอพยพย้ายถิ่นของผู้ปกครองนักเรียน  เป็นต้น

                       2.3 ปัจจัยด้านบุคลากร  เป็นปัจจัยที่มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อนเนื่องจากผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ สามารถบริหารจัดการครูและบุคลากรให้จัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ  ครูและบุคลากร ทางการศึกษามีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านและมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  สามารถจัดกระบวนการ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นครูในพื้นที่  เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน  ทำให้มีความผูกพันและมุ่งมั่นเป็น อย่างดี จุดอ่อน คือ ข้าราชการครูส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยใกล้เกษียณอายุ ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดเรียนการสอน พอสมควร   

    2.4 ปัจจัยด้านการเงิน เป็นปัจจัยที่มีจุจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน กล่าวคือ ผู้บริหารโรงเรียน

    มีความสามารถในการบริหารงบประมาณและการเงินแบบมุ่งเน้นผลงาน  ทำให้เกิดความโปร่งใส  คล่องตัว  ตรง ตามความต้องการของนักเรียน  ผู้ปกครองและครู  มีการจัดทำบัญชีการเงินอย่างเป็นระบบ  ทำให้สะดวกต่อการ ค้นหาและตรวจสอบได้  มีการระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหารจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  

    2.5 ปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์ มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน คือ การสำรวจความต้องการวัสดุ

    อุปกรณ์อย่างมีระบบส่งผลให้ครูผู้สอนได้รับวัสดุอุปกรณ์ตามที่ต้องการอย่างมีคุณภาพ การจัดสถานที่แหล่งเรียนรู้ ภายในสถานศึกษาที่พร้อมสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างดี ส่วนที่เป็นจุดอ่อนคือ  วัสดุ  ครุภัณฑ์  บางอย่างต้องใช้งบประมาณการซ่อมบำรุง ดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก เช่น  ระบบเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องปริ๊นเตอร์  เป็นต้น  ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้การดำเนินการต่างๆไม่คล่องตัว เท่าที่ควร  

    2.6 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน คือ โรงเรียนมีการมอบอำนาจ

    และ หน้าที่ทำให้ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีการจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการประกอบการบริหารงานทั้งระยะสั้น และระยะยาว  ทำให้บุคลากรปฏิบัติงานได้ตรงตามเป้าหมาย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมใน การวางแผนการจัดการศึกษาทุกขั้นตอน  

              ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ตามปัจจัยทั้ง  6  ด้านข้างต้น  สรุปได้ว่าโรงเรียนบ้านตาดทอง  มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน  กล่าวคือ  คุณภาพของนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตจากการให้บริการโดย เฉลี่ยมีคุณภาพตามมาตรฐานนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์และผลการทดสอบระดับชาติอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ อัตราการ สอบเข้าศึกษาต่อของนักเรียนในระดับที่สูงขึ้น ผู้ปกครองพึงพอใจ มีการบริหารและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ  บุคลากร มีความสามารถเฉพาะด้าน  การบริหารงบประมาณตรงตามความต้องการของการจัดการศึกษา  มีความ พร้อมในด้านวัสดุ  อุปกรณ์  และสามารถระดมทุนทรัพยากรต่างๆมาสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนได้เป็น อย่างดี  แต่มีจุดอ่อนคือ จำนวนประชากรวัยเรียนลดลง  งบประมาณได้รับการจัดสรรตามจำนวนนักเรียนและครู อยู่ในช่วงวัยใกล้เกษียณอายุราชการ ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดเรียนการสอนพอสมควร   

    3. การประเมินสถานภาพของโรงเรียนบ้านตาดทอง

    จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของโรงเรียนบ้านตาดทองที่ได้นำเสนอไป ในเบื้องต้นแล้วนั้น กล่าวโดยสรุปว่า  โรงเรียนบ้านตาดทอง มีปัจจัยที่เป็นโอกาสจากสภาพแวดล้อม ภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินภารกิจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะการส่งเสริมและ สนับสนุนกิจกรรมต่างๆจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่น  ปัจจัย ที่เป็นอุปสรรค  คือ  การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ประชากรวัยเรียนลดลง ผู้ปกครองมีฐานะ ยากจน ครอบครัวหย่าร้าง ส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียน  และผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในมีจุด แข็งมากกว่าจุดอ่อน  กล่าวคือ  นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน มีการบริหารและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ  ครู และบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพต่อการจัดการเรียนรู้ แต่มีจุดอ่อนคือ  ข้าราชการครูส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยใกล้ เกษียณอายุ ดังนั้นสถานภาพของโรงเรียนบ้านตาดทอง จึงอยู่ในลักษณะ   “ เอื้อและแข็ง ”

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    4. ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม/ SWOT  โรงเรียนบ้านตาดทอง

    จุดแข็ง  ( strengths )

    -คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมวางแผนการจัด การศึกษา

    - การบริหารงาน  กำหนดวิสัยทัศน์  นโยบาย  เป้าหมายและภารกิจที่ชัดเจน การปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบทำงานเป็น หมู่คณะ

    - มอบอำนาจหน้าที่   ลดขั้นตอนการทำงาน 

    - ครูมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เป็นครูในพื้นที่และเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน

    - นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์  และผลการทดสอบระดับชาติเป็นที่น่า พอใจ

    - มีอัตราการสอบเข้าศึกษาต่อที่ดี

    ให้บริการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 

    -ได้รับการสนับสนุนทั้งจาก ท้องถิ่นและชุมชน

    จุดอ่อน ( weekness )

    -จำนวนประชากรวัยเรียนลดลงและ ผู้ปกครองบางส่วนมีค่านิยมในการส่ง นักเรียนไปเรียนโรงเรียนยอดนิยม 

    - ความเจริญด้านเทคโนโลยี ทำให้ พฤติกรรม ค่านิยมในการใช้เทคโนโลยีที่ ไม่เหมาะสม เช่น การเล่นเกมออนไลน์ ของนักเรียนส่งผลต่อการเรียน

    - วัสดุอุปกรณ์  ด้านเทคโนโลยี ใช้งบประมาณซ่อมบำรุงและดูแลรักษา  จำนวนมาก

    - การใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทำให้ค่าใช้จ่าย ด้านสาธารณูปโภคสูง

    โอกาส ( opportunities )

    -  ผู้ปกครองประกอบอาชีพหลากหลาย /  มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและ แหล่งเรียนรู้ที่ใช้จัดการเรียนการสอนเพียงพอ

    - นโยบายการปฏิรูปการศึกษา  ทำให้ครูมีการพัฒนาตนเองและจัด กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายมากขึ้น  นักเรียนได้รับการ พัฒนาเต็มตามศักยภาพ  

    - คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครองให้ความสำคัญพร้อม สนับสนุนการจัดการศึกษา 

     

    อุปสรรค (threats)

    - ผู้ปกครองส่วนหนึ่งมีอาชีพไม่มั่นคง ย้าย ที่อยู่บ่อย ครอบครัวหย่าร้าง ส่งผล กระทบต่อการเรียนของนักเรียน พอสมควร

    - เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ แน่นอน ผู้ปกครองมีฐานะยากจน

    -  นโยบายการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อย

     

    ส่วนที่  1

    บทนำ

    ข้อมูลพื้นฐาน

                โรงเรียนบ้านตาดทอง  ตั้งอยู่หมู่ที่  12  ถนนแจ้งสนิท   ตำบลตาดทอง  อำเภอเมืองยโสธร  จังหวัด

    ยโสธร  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต  1  มีเขตบริการ  6  หมู่บ้าน  ได้แก่  หมู่ที่  1  หมู่ที่ 4  หมู่ที่  9  หมู่ที่  11  บ้านตาดทอง   หมู่ที่  2  บ้านคอนสายและหมู่ที่  12  บ้านประชาสรรค์  

            ในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2559  รับนักเรียนจากโรงเรียนบ้านหนองแฝก  ซึ่งมีเขตบริการ

    หมู่ที่  4 บ้านหนองแฝกและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านสะเดา  ซึ่งมีเขตบริการจากหมู่ที่  5  หมู่ที่  6  และหมู่ที่  13  บ้านสะเดา  ตำบลตาดทอง  มาเรียนร่วมในโครงการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก   จนถึงปัจจุบัน

              ประวัติโรงเรียนบ้านตาดทอง

              โรงเรียนบ้านตาดทอง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่  16  มกราคม  พ.ศ. 2466  โดยรองอำมาตย์ตรีขุนพันธนากร 

    เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง  แรกก่อตั้งใช้ศาลาวัดโพธิ์ศรีมงคลบ้านตาดทองเป็นสถานที่เรียนโดยมีนายน้อย  จิตตะยโศธร  เป็นครูใหญ่คนแรก  ใช้เงินศึกษาพลีในช่วงแรกก่อตั้ง

              ปัจจุบัน โรงเรียนตั้งอยู่ถนนแจ้งสนิท  หมู่ 12  บ้านประชาสรรค์  ตำบลตาดทอง  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร

    ต้นสังกัดของโรงเรียน

                  -  แรกก่อตั้งโรงเรียน  สังกัดกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ

                  -  วันที่  1  ตุลาคม  2509  โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี  กรมการ

    ปกครองกระทรวงมหาดไทย

                  -  วันที่  1  ตุลาคม  2523  โอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

    (สปช.)  กระทรวงศึกษาธิการ

                  -  วันที่  7  กรกฎาคม  2546  โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 

    กระทรวงศึกษาธิการ

    งบประมาณที่โรงเรียนเคยได้รับ

    • พ.ศ. 2484  สร้างอาคารเรียน  แบบ ป.1 ช  จำนวน  1  หลัง  3  ห้องเรียน  ใช้เงิน  2,000  บาท

    (รื้อและจำหน่าย)

    - พ.ศ. 2492  คณะครู  ประชาชนร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียน  แบบ ป.2  จำนวน  1  หลัง  4

    ห้องเรียน  ทางราชการได้สนับสนุนต่อเติมชั้นล่าง  5,000  บาท  (รื้อและจำหน่าย)

                  -  พ.ศ. 2502  คณะครู  ประชาชนร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียน  แบบ ป.4  เพื่อเปิดสอนระดับชั้น

    มัธยม  เป็นเงิน  29,000  บาท  สมัยนายเสงี่ยม  โสธรวงศ์  เป็นครูใหญ่  (รื้อและจำแหน่าย)

                  -  พ.ศ. 2512  สร้างอาคารเรียนแบบ ป.004  จำนวน  1  หลัง  3  ห้องเรียน  งบประมาณ  70,000 

    บาท  และได้รับต่อเติมชั้นล่าง  3  ห้องเรียน  100,000  บาท  ในปี 2517

                  -  พ.ศ. 2517  สร้างอาคารเรียน  แบบ ป.1 ช  จำนวน  1  หลัง  4  ห้อง  เป็นเงิน  100,000  บาท

     

     

                  -  พ.ศ. 2519  สร้างอาคารอเนกประสงค์  1  หลัง  แบบ สปช. 105 – 26  งบประมาณ  820,000 บาท

                  -  พ.ศ. 2519  สร้างอาคารเรียน  แบบ 021  ใต้ถุนสูง  10  ห้องเรียน  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณ

    600,000  บาท (ปัจจุบันคืออาคาร 1)

                  -  พ.ศ. 2540  สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105 – 26  จำนวน  1  หลัง  4  ห้องเรียน  และต่อเติม

    ชั้นล่าง  3  ห้องเรียน  งบประมาณ  1,800,000  บาท  (ปัจจุบันคืออาคาร 3)

    ความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่นและเอกชน

    โรงเรียนบ้านตาดทองได้รับความร่วมมือจากชุมชนและท้องถิ่น  ดังต่อไปนี้

                   -  พ.ศ. 2541  นางนรากรณ์  วรสันต์  บริจาคสร้างศาลาอเนกประสงค์ (อาคารกาญจน์วรสันต์) 

    เป็นเงิน  100,000  บาท

                   -  นายขวัญชัย  นางมารศรี  เวชกามา  บริจาคเงิน  21,000  บาท  สร้างอนุสาวรีย์รัชการที่ 6

                   -  นางสกุล  เตชะมาถาวร  บริจาคสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์  เป็นเงิน  30,000  บาท

                   -  อดีต ส.จ.คำดี  พรหมากอง  ประสานของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร

    ปรับปรุงระบบไฟฟ้า  อาคารอเนกประสงค์  งบประมาณ  27,000  บาท

                   -  คณะศิษย์เก่า  40  รุ่น  จัดงานครบรอบ  70  ปี  โรงเรียนบ้านตาดทอง  ร่วมกับคระครูและ

    กรรมการสถานศึกษา  ได้เงิน  178,812  บาท  อุปกรณ์สนับสนุนการศึกษา  183,600  บาท  จัดเป็นทุนการศึกษา  12,000  บาท  สมทบมูลนิธิ  70 ปี  ของโรงเรียน  25,000  บาท  มอบเป็นทุนพัฒนาโรงเรียน  65,458  บาท

                   -  จัดตั้งมูลนิธิ  70  ปี  โรงเรียนบ้านตาดทอง  ทุนจดทะเบียน  300,000  บาท

                   -  สร้างห้องสมุดโรงเรียนอนุสรณ์  70  ปี  ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  130,000  บาท

                   -  ผอ.เกรียงศักดิ์  บุญทวี  บริจาคจานดาวเทียม Ø 9 ฟุต  พ.ศ. 2548  เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางไกล

    ผ่านดาวเทียม

                   -  ได้รับมอบอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม  จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 

    กระทรวงศึกษาธิการ  เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณ  1  ชุด  โทรทัศน์สี  21  นิ้ว  12  โรงเรียนได้ดำเนินการติดตั้งให้นักเรียนชั้น ป.1 – 6  ได้เรียนรู้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  ในเดือนกรกฎาคม  2548  เป็นต้นมา

                   -  วันที่  13  พฤษภาคม  2549  คณะครูและกรรมการสถานศึกษามีมติจัดผ้าป่าการศึกษาสร้างถนน

    คอนกรีตเฉลิมพระเกียรติครองราชย์  60  ปี  และอนุสรณ์  84  โรงเรียนบ้านตาดทอง  โดยได้รับความเมตตาสนับสนุนจาก  พระวัชรธรรมาภรณ์  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์  กรุงเทพฯ  นำผ้าป่ามาสมทบกับหมู่บ้านและโรงเรียน  ได้ทุนมาสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  กว้าง  4  เมตร  หนา  0.12  เมตร  ยาว  237.50  เมตร  และทำทางเชื่อมถนนกับอาคารเรียน  3  เส้น  ยาว  30  เมตร  ค่าดำเนินการก่อสร้างทั้งสิ้น  372,476  บาท

     เสร็จช่วงแรกวันที่  13  กรกฎาคม  2549  ทำพิธีเปิดถนนในวันแม่แห่งชาติ  12  สิงหาคม  2549

    • วันที่  14  มกราคม  2550  คณะครู  กรรมการสถานศึกษา  โดยการนำของพระวัชรธรรมาภรณ์

    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์  ได้จัดผ้าป่าต่อเติมถนนคอนกรีตอีกครั้ง  ได้เงิน  263,434  บาท  คณะกรรมการสถานศึกษามีมติให้ช่างในหมู่บ้านดำเนินการก่อสร้างได้ถนนเพิ่ม  253.60  เมตร  รวมถนน  คสล.ที่สร้างเสร็จแล้ว  491.10  เครื่อง  เมตร  คงเหลือถนนเส้นกลางข้างสนามฟุตบอลอยู่อีก  89  เมตร  ก็จะเสร็จสมบูรณ์

                   -  พลเรือเอกฉกรรจ์  สุวรรณเสนีย์  อดีตศิษย์เก่าของโรงเรียน  มอบทุนผ้าป่าให้โรงเรียน  30,000 

    บาท  สร้างแท่นน้ำดื่มให้ผ่านเครื่องกรอง  หน้าอาคาร 3  ให้นักเรียนได้ดื่มน้ำสะอาดและโรงอาหารอีก  1  จุด

                   -  ปี  พ.ศ.  2554  คณะศิษย์เก่าร่วมบริจาคปรับปรุงอาคารโรงอาหารและต่อเติมห้องเรียนปฐมวัย

                   -  ปี  พ.ศ.  2556  คณะศิษย์เก่า  ผู้ปกครอง  ชุมชน  นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจน

    ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสร้างป้ายโรงเรียน

    -  ปี  พ.ศ.  2559  คณะศิษย์เก่า  ผู้ปกครอง  ชุมชน  นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจน

    ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสร้างรั้วและซุ้มประตูโรงเรียน

                   -  ปี  พ.ศ.  2561  คณะศิษย์เก่า  ผู้ปกครอง  ชุมชน  นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสร้างเสาธง

    หมู่บ้านเขตบริการของโรงเรียน

    โรงเรียนบ้านตาดทอง  มีนักเรียนจากหมู่บ้านในเขตพื้นที่บริการมาเข้าเรียน  คือ

    1. บ้านตาดทอง  หมู่ 1 ,  หมู่ 9 ,  หมู่ 11
    2. บ้านคอนสาย  หมู่ 2
    3. บ้านหนองแฝก  หมู่  4
    4. บ้านสะเดา  หมู่ 5  , หมู่  6 , หมู่  13
    5. บ้านประชาสรรค์  หมู่ 12

    การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

    แรกก่อตั้ง  -  โรงเรียนจัดการเรียนการสอน ชั้น ป.1 – 4

                                   -  พ.ศ. 2502  จัดการเรียนการสอน  ชั้น ป.1 – 4  และ ม.1 – 3

                                   -  พ.ศ. 2507  จัดการเรียนการสอน  ชั้น ป.1 – 7

                                   -  พ.ศ. 2521  จัดการเรียนการสอน  ชั้น ป.1 – 6

                               -  ปัจจุบันโรงเรียนจัดการเรียนการสอน  2  ระดับ  คือ  ระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – 6  และเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล  ในโครงการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก  ซึ่งมีโรงเรียนบ้านสะเดาและโรงเรียนบ้านหนองแฝกมาเรียนรวม  มีห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก  1  ห้องเรียน

     

     

     

     

     

    ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

              โรงเรียนบ้านตาดทอง มีผู้บริหารโรงเรียนตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจันถึงปัจจุบัน  ดังต่อไปนี้

    1. นายน้อย  จิตตะยโสธร         ครูใหญ่            พ.ศ. 2466 – 2467
    2. นายทอง  ขุมทอง              ครูใหญ่           พ.ศ. 2467 – 2467
    3. นายจูม  สุวรรณราช           ครูใหญ่           พ.ศ. 2467 – 2469
    4. นายอาน  ไชยวิเศษ            ครูใหญ่           พ.ศ. 2469 – 2470
    5. นายสินธ์  จิตตะยโสธร         ครูใหญ่           พ.ศ. 2470 – 2472
    6. นายเฉลิม  ณุวงษ์ศรี            ครูใหญ่           พ.ศ. 2472 – 2476
    7. นายพร  แสงพันธ์              ครูใหญ่           พ.ศ. 2476 – 2478
    8. นายผัน  วงษ์อนันต์            ครูใหญ่           พ.ศ. 2478 – 2487
    9. นายอ่อนจันทร์  ศรีใสคำ       ครูใหญ่           พ.ศ. 2487 – 2487
    10. นายผัน  วงษ์อนันต์            ครูใหญ่           พ.ศ. 2487 – 2494
    11. นายกมล  จิตตะยโสธร         ครูใหญ่           พ.ศ. 2494 – 2495
    12. นายเลี่ยม  โสธรวงษ์           ครูใหญ่           พ.ศ. 2495 – 2510
    13. นายสถิตย์  ยศสุนทร           ครูใหญ่           พ.ศ. 2510 – 2516
    14. นายโสม  วรสันต์               อาจารย์ใหญ่     พ.ศ. 2516 – 2525
    15. นายสุดใจ  ทับแสง             อาจารย์ใหญ่     พ.ศ. 2525 – 2532
    16. นายประมูล  วัฒนาไชย        อาจารย์ใหญ่     พ.ศ. 2532 – 2545
    17. นายสถิตย์  บันลือหาญ        ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2545 – 2548
    18. นายเกรียงศักดิ์  บุญทวี        ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2548 – 2552
    19. นายนิพนธ์  แซ่ตั้ง              รักษาราชการ    พ.ศ. 2552 – 2553
    20. นายสัมฤทธิ์  เวชกามา         ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2553 – 2554
    21. นายคำพอง  สารสร            ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2554 – 2558
    22. นายประครอง  จันทคง        ผู้อำนวยการ     พ.ศ. 2558 – 2561
    23. นายกำพล  พาภักดี            รักษาการ         พ.ศ. 2561 – 2562
    24. นางคัชรินทร์นี  ฝูงดี           รักษาการ         พ.ศ. 2562 -  2562
    25. นางสุรางค์  ศรีทราไชย           ผู้อำนวยการโรงเรียน  พ.ศ.  2562- ปัจจุบัน

     

     

     

     

     

     

    ที่ดินของโรงเรียน

    โรงเรียนบ้านตาดทอง เดิมมีที่ดินเป็นของโรงเรียน  2  แปลง

    1. แปลงที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน  เป็นที่ราชพัสดุ  ทะเบียน ยส.585  เนื้อที่  36  ไร่  2  งาน  2  ตารางวา
    2. แปลงสวนเกษตร  อยู่ติดถนนแจ้งสนิท  ตรงกันข้ามกับแปลงแรก  ยกให้เป็นที่ตั้งสำนักงานองค์การ

    บริหารส่วนตำบลตาดทอง  จัดหางานจังหวัดยโสธร  และสำนักงานประมงจังหวัดยโสธร

    1.  แปลงสวนป่าติดประตูทางเข้าโรงเรียนด้านทิศตะวันออกถึงถนนทางเข้าบ้านคอนสาย  ยกให้

    สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดยโสธร  และ  สำนักงานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยโสธร

     

     

     

     

     

     

    คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านตาดทอง

     

    ที่

    ชื่อ-สกุล

           ตำแหน่ง

    1

    นายบุญเรือง  คำไพ

    ประธานคณะกรรมการ

    2

    นายประสาท  วัฒนาไชย

    ผู้แทนผู้ปกครอง

    3

    นายชลวุฒิ  มหาชนะวงศ์          

    ผู้แทนชุมชน

    4

    นางประคองศรี  เวชกามา

    ผู้แทนศิษย์เก่า

    5

    นายพรทิพย์  จันทคง

    ผู้แทนท้องถิ่น

    6

    นายธีรกุล  เวชกามา

    ผู้แทนศาสนา

    7

    ด.ต.ประจักษ์  พันนา

    ผู้ทรงคุณวุฒิ

    8

    นางนวลสะอาด  สิงห์นันท์ 

    ผู้แทนครู

    9

    นางสุรางค์  ศรีทราไชย

    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาดทอง/

    เลขานุการ

     

               4.  อาคารเรียนอาคารประกอบ

                              ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านตาดทองมีอาคารเรียน  2  หลัง  อาคารอเนกประสงค์  1  หลัง  ห้องสมุด 

    1. หลัง  โรงอาหาร  1  หลัง  ส้วม  5  หลัง
    1. อาคาร 1  แบบ 021  อาคารไม้  2  ชั้น  ใต้ถุนสูง  10  ห้องเรียน  สร้าง พ.ศ. 2519

    งบประมาณ  100,000  บาท

    1. อาคาร 3  แบบ สปช. 105 – 26  จำนวน  1  หลัง  4  ห้องเรียน  ใต้ถุนสูง  ต่อเติมชั้นล่าง  3 

    ห้องเรียน  สร้าง พ.ศ. 2540 งบประมาณ  1,800,000  บาท

    1. อาคารอเนกประสงค์  แบบ 205 – 26  กว้าง  14  เมตร  ยาว  32  เมตร  สร้าง พ.ศ. 2527 

    งบประมาณ  820,000  บาท 

    1. อาคารห้องสมุดอนุสรณ์  70  ปี  โรงเรียนบ้านตาดทอง  ปรับปรุงอาคารเก่าเป็นห้องสมุด

    โดยคณะศิษย์เก่าและประชาชน  เมื่อวันที่  28  พฤษภาคม  2537

    1. อาคารกาญจน์วรสันต์  เป็นอาคารอเนกประสงค์  เพื่อประกอบพิธีในการแข่งขันกีฬา 

    สร้างบริเวณข้างสนามฟุตบอล  พ.ศ. 2546

    1. โรงอาหาร  1  หลัง

              5.  สนามกีฬา  จำนวน  4  สนาม  ได้แก่  สนามฟุตบอล   สนามวอลเลย์บอล  สนามตะกร้อ  และ

    สนามฟุตซอล

              6.  สภาพชุมชนโดยรวม 

                       สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนชานเมือง  เป็นชุมชนที่มีความสะดวกในการคมนาคม  ประชาชนประกอบอาชีพที่หลากหลาย  มีหน่วยงานราชการใกล้เคียงหลายหน่วยงาน  เช่น  สำนักงานประมงจังหวัดยโสธร  สำนักงานจัดหางานจังหวัดยโสธร  สำนักงานเทศบาลตำบลตาดทอง  สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยโสธร  ตลาดสดเทศบาลตำบลตาดทอง  โรงเรียนยโสธรพิทยาสรรค์  ธาตุก่องข้าวน้อย  เป็นต้น

              7.  การประกอบอาชีพ (ของผู้ปกครองนักเรียน)

                       ผู้ปกครองนักเรียนร้อยละ  30  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ร้อยละ  30  ประกอบอาชีพรับจ้าง  ร้อยละ  20  ประกอบอาชีพค้าขาย  ร้อยละ  15  ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท  และร้อยละ  5  ประกอบอาชีพอื่นๆ

              8.  การนับถือศาสนา

                       นักเรียนและผู้ปกครองส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ   คิดเป็นร้อยละ  99  ส่วนร้อยละ  1  นับถือศาสนาอื่นๆ

              9.  ฐานะทางเศรษฐกิจ  (ของผู้ปกครองนักเรียน)

                       ผู้ปกครองนักเรียนมีรายได้เฉลี่ย  36,000  บาท/ครอบครัว/ปี

              10.  ความสัมพันธ์กับชุมชน

                       โรงเรียนได้ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาสถานศึกษา

    โดยขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง  ชุมชน  ศิษย์เก่า  คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านตาดทอง  ผู้นำชุมชน  สถานที่ราชการและหน่วยงานใกล้เคียงเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

              11.  แหล่งเรียนรู้

    ตารางแสดงแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน 

    แหล่งเรียนรู้ภายใน

    แหล่งเรียนรู้ภายนอก

    •  อาคารเรียนและห้องเรียนต่างๆ
    • ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
    • ห้องคอมพิวเตอร์
    • ห้องสมุด
    • ห้องดนตรี
    • ห้องจริยศึกษา
    • ห้องสหกรณ์โรงเรียน
    • ห้องประชุม
    • ห้องพยาบาล
    • สนามเด็กเล่น
    • สนามกีฬา
    • สวนหย่อมในโรงเรียน
    • สวนกล้วย
    • สวนมะนาว
    • สวนป่าในโรงเรียน
    • โรงอาหาร
    • อาคารอเนกประสงค์
    • สวนสมุนไพร
    • สวน/แปลงผักในโรงเรียน
    • ต้นยางนาในโรงเรียน
    • โรงเรียนต่างๆในจังหวัดยโสธร
    • ธาตุก่องข้าวน้อย
    • ตลาดสดเทศบาลตำบลตาดทอง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

    ตาดทอง

    • โรงพยาบาลยโสธร
    • สำนักงานจัดหางานจังหวัดยโสธร
    • สำนักงานประมงจังหวัดยโสธร
    • สำนักงานเทศบาลตำบลตาดทอง
    • สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

    ยโสธร

    • วังมัจฉายโสธร(วัดบ้านกว้าง)
    • ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยโสธร
    • โรงงานผลิตเตาบ้านคอนสาย
    • โรงงานผลิตปลาส้มบ้านตาดทอง
    • ร้านจำหน่ายสังฆภัณฑ์
    • ตลาดนัดสีเขียว(หอนาฬิกา)
    • สวนสาธารณะพญาแถน
    • วิมานพญาแถน
    • เรือนจำจังหวัดยโสธร
    • วัดต่างๆในหมู่บ้านในเขตบริการ
    • พระอารามหลวงในเทศบาลเมืองยโสธร
    • สถานที่ราชการในอำเภอเมืองยโสธร
    • ธนาคารต่างๆ

     

             

     

     

     

              12.  ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ผู้ทรงคุณวุฒิ 

     

    ที่

    ชื่อ-สกุล

    สาขา/ด้าน

    1

    พระมหาอุดม  อุตโม

    •  พระพุทธศาสนา

    2

    นายยงยุทธ  หาระการณ์

    • ช่างตัดผมชาย

    3

    นางละอองดาว  บุปผา

    • ช่างตัดผมหญิง

    4

    นางวิทยา  ไชยบุตร

    • การปลูกผักอินทรีย์

    5

    นางบัวสา  ขันธ์โมลี

    • การทำพานบายศรี

    6

    นางสุทธาสินี  เวชกามา

    • การนวดแผนไทย

    7

    นางแดง  ไชยราช

    • ช่างปั้นเตา

    8

    นางวิไลวรรณ  เวชกามา

    • การประกอบอาหาร

    9

    นายบุญเรือง  คำไพ

    • การทำปุ๋ยชีวภาพ

    10

    นางละเอียด  เนตรวงษ์

    • การทำดอกไม้จันทน์

    11

    นายประภาส  วัฒนาไชย

    • ช่างก่อสร้าง

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ภารกิจของสถานศึกษา

    1. จัดทำนโยบาย  แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผน

    ของกระทรวงศึกษาธิการ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต  1

    1. จัดตั้งงบประมาณและรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
    2. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและ

    ความต้องการของนักเรียน  ชุมชนและท้องถิ่น

    1. จัดการเรียนการสอน  สภาพแวดล้อม  บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม  ส่งเสริม

    กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

    อย่างต่อเนื่อง

    1. ออกระเบียบ  ข้อบังคับ  ประกาศและแนวทางปฏิบัติต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด
    2. กำกับ  ติดตาม  ประเมินผลตามแผนงาน/โครงการ  และประเมินผลการปฏิบัติงาน  ตลอดจน

    การพิจารณาความดีความชอบ  การพัฒนาและการดำเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาตามกฎหมายกำหนด

    1. ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา  รวมทั้งปกครอง  ดูแล  บำรุงรักษา  ใช้และจัดหาผลประโยชน์

    จากทรัพย์สินของสถานศึกษา

    1. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  และให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพ

    การศึกษาจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา  รวมทั้งรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต 1  และผู้มีส่วนได้  ส่วนเสีย

    1. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถานศึกษาและสถาบันอื่น

    ในชุมชนและท้องถิ่น

    1. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวกับกิจการภายในสถานศึกษาหรือตามที่ได้รับมอบหมายและตาม

    ที่กฎหมายอื่นกำหนด

                                                       

     

    ส่วนที่  2

    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา

    1.  สภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษา

              สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนบ้านตาดทอง  ประกอบด้วยปัจจัย  4  ด้าน  ดังนี้

    1. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม  ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ห่างจากตัวเมืองยโสธรประมาณ 

    5  กิโลเมตร  สภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นชุมชนขนาดใหญ่  แนวโน้มของประชากรที่จะต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตบริการมีจำนวนลดน้อยลง  เนื่องจากอัตราการเกิดของเด็กและค่านิยมของผู้ปกครองที่ส่งลูกหลานเข้าไปเรียนในโรงเรียนยอดนิยมในตัวเมือง  จึงทำให้จำนวนนักเรียนในสถานศึกษามีจำนวนน้อยลง  ผู้ปกครองและชุมชนให้ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมการศึกษาของโรงเรียน  ทำให้การดำเนินงานกิจกรรมต่างๆเป็นไปด้วยความราบรื่น  ถือได้ว่าปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรคต่อการดำเนินงานของโรงเรียน  กล่าวคือ  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้นำชุมชน  ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษาสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน  จึงจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งผู้ปกครองมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายสามารถเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ในหลายด้าน  ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษาคือ  ผู้ปกครองบางส่วนมีอาชีพไม่มั่นคง  มีฐานะยากจน  ครอบครัวหย่าร้างนักเรียนต้องพักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง  ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยรวม  ตลอดจนปัญหาด้านสังคมที่ทำให้นักเรียนอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกี่ยวข้องในด้านยาเสพติด  การพนันบอล  ปัญหาการติดเกม  การติดโทรศัพท์มือถือ  เป็นต้น

    1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี  โครงสร้างพื้นฐานและการแพร่กระจายของเทคโนโลยีใน

    ชุมชน  เช่น  โทรศัพท์  ไฟฟ้า  สัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เนต  ทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีของนักเรียน

    และผู้ปกครองสามารถทำได้ง่าย  สะดวก  ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการบริหารจัดการ  การให้บริการและการพัฒนาการศึกษาให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  สามารถช่วยลดความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน  เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารรวดเร็วขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา  สำหรับด้านการศึกษาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน  การให้บริการแก่ผู้ปกครอง  ประชาชน  ชุมชนและสังคม  ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต  เป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสต่อการดำเนินภารกิจของโรงเรียนเป็นอย่างมาก  โดยโรงเรียนได้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพตอบสนองต่อความต้องการของผู้ปกครอง  ชุมชนและสังคม  ที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้และทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ดีในอนาคต  ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือ  ระบบสัญญาณของเครือข่ายอินเทอร์เนตไม่ดีพอ  นอกจากนี้  การดูแลซ่อมบำรุงวัสดุอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

     

     

    1. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ  ภาวะทางเศรษฐกิจและฐานะทางเศรษฐกิจ  ได้แก่รายได้ของ

    ผู้ปกครองและประชากรกลุ่มเป้าหมาย  ถือว่ามีรายได้น้อยเพราะผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป  นักเรียนส่วนมากพักอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่  รอรายรับจากพ่อ  แม่  ที่ไปทำงานที่ต่างจังหวัดส่งเงินมาให้  ทำให้ความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก  แต่ทั้งนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบประมารณตามนโยบายเรียนฟรี 15  ปี  ทำให้แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง  ในด้านการสนับสนุนปัจจัยด้านสื่อ  อุปกรณ์  เสื้อผ้า  ที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ไม่มากนัก   ถือเป็นส่วนอุปสรรคในการดำเนินงานด้านงบประมาณ  กล่าวคืองบประมาณมีจำนวนจำกัดและผู้ปกครองมีฐานะยากจน

    1. ปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย   เป็นปัจจัยที่เป็นโอกาสต่อการดำเนินงานของ

    โรงเรียนเป็นอย่างมากเพราะพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ.  2545  และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ.  2553  ทำให้ครูมีการพัฒนาตนเองและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายมากขึ้น  นักเรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ  ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆจากชุมชน  ทำให้การพัฒนาการจัดการศึกษาได้ในระดับหนึ่ง  สำหรับอุปสรรคในการดำเนินงานตามภารกิจ  คือความไม่ต่อเนื่องของนโยบายจัดการศึกษา  เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาที่ยังไม่แล้วเสร็จ

    ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกตามปัจจัยทั้ง  4  ด้านดังกล่าวข้างต้น  สรุปได้

    ว่า  โรงเรียนบ้านตาดทอง  มีปัจจัยทีเป็นโอกาสมากกว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรค  กล่าวคือ  มีความพร้อมในการจัดการศึกษา  โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานต้นสังกัด  สามารถพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เกิดผลตามเป้าหมายของโรงเรียน  แต่ยังมีอุปสรรคอยู่บ้างคือการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม  เทคโนโลยีการสื่อสาร  ทำให้พฤติกรรมของเยาวชนปรับเปลี่ยนตามไปด้วย  อีกทั้งฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองนักเรียนไม่ดีเท่าที่ควร  ตลอดจนการสนับสนุนงบประมาณจากทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังจำกัดในด้านการเมืองและกฎหมาย

    2.  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา

              สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านตาดทอง  พิจารณาจากจุดแข็งและจุดอ่อนจาก  6  ปัจจัย  ดังนี้

                       2.1  ปัจจัยทางด้านโครงสร้างและนโยบาย  เป็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน  กล่าวคือ  โรงเรียนบ้านตาดทองมีการบริหารงาน  กำหนดวิสัยทัศน์  นโยบายและภารกิจที่ชัดเจน  ทำให้บุคลากรมีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ  เน้นการทำงานเป็นหมู่คณะ  ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ  สร้างขวัญและกำลังใจ  ลดการขัดแย้ง ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ  แต่ยังมีจุดอ่อนอยู่บ้างในเรื่องของการปฏิบัติตามนโยบายบางส่วนยังไม่ได้ประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เนื่องจากครูมีจำนวนจำกัด   ครูบางส่วนทำการสอนไม่ตรงวิชาเอก  แต่ก็ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนต้องปฏิบัติหน้าที่อื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานสอนควบคู่ไปด้วย

                       2.2  ปัจจัยด้านผลผลิตและการให้บริการ  ถือว่าเป็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน  กล่าวคือ  คุณภาพของนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตจากการให้บริการโดยเฉลี่ยมีคุณภาพมาตรฐาน  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์และผลการทดสอบระดับชาติอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ  อัตราการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นผู้ปกครองมีความพึงพอใจ  รวมถึงการให้บริการทางด้านปริมาณ  ถือว่าเป็นจุดแข็ง  เนื่องจากสามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่เขตบริการและประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย  จุดอ่อนอยู่ที่จำนวนนักเรียนในเขตบริการมีน้อย  เนื่องจากประชากรในวัยเรียนลดลง  ค่านิยมการเข้าไปเรียนในโรงเรียนยอดนิยม  การประกอบอาชีพและการอพยพย้ายถิ่นของผู้ปกครองนักเรียน  เป็นต้น

                       2.3 ปัจจัยด้านบุคลากร  เป็นปัจจัยที่มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อนเนื่องจากผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ สามารถบริหารจัดการครูและบุคลากรให้จัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ  ครูและบุคลากร ทางการศึกษามีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านและมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  สามารถจัดกระบวนการ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นครูในพื้นที่  เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน  ทำให้มีความผูกพันและมุ่งมั่นเป็น อย่างดี จุดอ่อน คือ ข้าราชการครูส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยใกล้เกษียณอายุ ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดเรียนการสอน พอสมควร   

    2.4 ปัจจัยด้านการเงิน เป็นปัจจัยที่มีจุจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน กล่าวคือ ผู้บริหารโรงเรียน

    มีความสามารถในการบริหารงบประมาณและการเงินแบบมุ่งเน้นผลงาน  ทำให้เกิดความโปร่งใส  คล่องตัว  ตรง ตามความต้องการของนักเรียน  ผู้ปกครองและครู  มีการจัดทำบัญชีการเงินอย่างเป็นระบบ  ทำให้สะดวกต่อการ ค้นหาและตรวจสอบได้  มีการระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหารจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  

    2.5 ปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์ มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน คือ การสำรวจความต้องการวัสดุ

    อุปกรณ์อย่างมีระบบส่งผลให้ครูผู้สอนได้รับวัสดุอุปกรณ์ตามที่ต้องการอย่างมีคุณภาพ การจัดสถานที่แหล่งเรียนรู้ ภายในสถานศึกษาที่พร้อมสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างดี ส่วนที่เป็นจุดอ่อนคือ  วัสดุ  ครุภัณฑ์  บางอย่างต้องใช้งบประมาณการซ่อมบำรุง ดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก เช่น  ระบบเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องปริ๊นเตอร์  เป็นต้น  ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้การดำเนินการต่างๆไม่คล่องตัว เท่าที่ควร  

    2.6 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน คือ โรงเรียนมีการมอบอำนาจ

    และ หน้าที่ทำให้ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีการจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการประกอบการบริหารงานทั้งระยะสั้น และระยะยาว  ทำให้บุคลากรปฏิบัติงานได้ตรงตามเป้าหมาย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมใน การวางแผนการจัดการศึกษาทุกขั้นตอน  

              ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ตามปัจจัยทั้ง  6  ด้านข้างต้น  สรุปได้ว่าโรงเรียนบ้านตาดทอง  มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน  กล่าวคือ  คุณภาพของนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตจากการให้บริการโดย เฉลี่ยมีคุณภาพตามมาตรฐานนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์และผลการทดสอบระดับชาติอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ อัตราการ สอบเข้าศึกษาต่อของนักเรียนในระดับที่สูงขึ้น ผู้ปกครองพึงพอใจ มีการบริหารและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ  บุคลากร มีความสามารถเฉพาะด้าน  การบริหารงบประมาณตรงตามความต้องการของการจัดการศึกษา  มีความ พร้อมในด้านวัสดุ  อุปกรณ์  และสามารถระดมทุนทรัพยากรต่างๆมาสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนได้เป็น อย่างดี  แต่มีจุดอ่อนคือ จำนวนประชากรวัยเรียนลดลง  งบประมาณได้รับการจัดสรรตามจำนวนนักเรียนและครู อยู่ในช่วงวัยใกล้เกษียณอายุราชการ ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดเรียนการสอนพอสมควร   

    3. การประเมินสถานภาพของโรงเรียนบ้านตาดทอง

    จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของโรงเรียนบ้านตาดทองที่ได้นำเสนอไป ในเบื้องต้นแล้วนั้น กล่าวโดยสรุปว่า  โรงเรียนบ้านตาดทอง มีปัจจัยที่เป็นโอกาสจากสภาพแวดล้อม ภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินภารกิจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะการส่งเสริมและ สนับสนุนกิจกรรมต่างๆจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่น  ปัจจัย ที่เป็นอุปสรรค  คือ  การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ประชากรวัยเรียนลดลง ผู้ปกครองมีฐานะ ยากจน ครอบครัวหย่าร้าง ส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียน  และผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในมีจุด แข็งมากกว่าจุดอ่อน  กล่าวคือ  นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน มีการบริหารและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ  ครู และบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพต่อการจัดการเรียนรู้ แต่มีจุดอ่อนคือ  ข้าราชการครูส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยใกล้ เกษียณอายุ ดังนั้นสถานภาพของโรงเรียนบ้านตาดทอง จึงอยู่ในลักษณะ   “ เอื้อและแข็ง ”

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    4. ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม/ SWOT  โรงเรียนบ้านตาดทอง

    จุดแข็ง  ( strengths )

    -คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมวางแผนการจัด การศึกษา

    - การบริหารงาน  กำหนดวิสัยทัศน์  นโยบาย  เป้าหมายและภารกิจที่ชัดเจน การปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบทำงานเป็น หมู่คณะ

    - มอบอำนาจหน้าที่   ลดขั้นตอนการทำงาน 

    - ครูมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เป็นครูในพื้นที่และเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน

    - นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์  และผลการทดสอบระดับชาติเป็นที่น่า พอใจ

    - มีอัตราการสอบเข้าศึกษาต่อที่ดี

    ให้บริการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 

    -ได้รับการสนับสนุนทั้งจาก ท้องถิ่นและชุมชน

    จุดอ่อน ( weekness )

    -จำนวนประชากรวัยเรียนลดลงและ ผู้ปกครองบางส่วนมีค่านิยมในการส่ง นักเรียนไปเรียนโรงเรียนยอดนิยม 

    - ความเจริญด้านเทคโนโลยี ทำให้ พฤติกรรม ค่านิยมในการใช้เทคโนโลยีที่ ไม่เหมาะสม เช่น การเล่นเกมออนไลน์ ของนักเรียนส่งผลต่อการเรียน

    - วัสดุอุปกรณ์  ด้านเทคโนโลยี ใช้งบประมาณซ่อมบำรุงและดูแลรักษา  จำนวนมาก

    - การใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทำให้ค่าใช้จ่าย ด้านสาธารณูปโภคสูง

    โอกาส ( opportunities )

    -  ผู้ปกครองประกอบอาชีพหลากหลาย /  มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและ แหล่งเรียนรู้ที่ใช้จัดการเรียนการสอนเพียงพอ

    - นโยบายการปฏิรูปการศึกษา  ทำให้ครูมีการพัฒนาตนเองและจัด กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายมากขึ้น  นักเรียนได้รับการ พัฒนาเต็มตามศักยภาพ  

    - คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครองให้ความสำคัญพร้อม สนับสนุนการจัดการศึกษา 

     

    อุปสรรค (threats)

    - ผู้ปกครองส่วนหนึ่งมีอาชีพไม่มั่นคง ย้าย ที่อยู่บ่อย ครอบครัวหย่าร้าง ส่งผล กระทบต่อการเรียนของนักเรียน พอสมควร

    - เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ แน่นอน ผู้ปกครองมีฐานะยากจน

    -  นโยบายการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อย

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2021-09-16 15:04:51 น.

โรงเรียนบ้านตาดทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 โทรศัพท์: 0954169667 อีเมล์: [email protected]
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]