• ประวัติ โรงเรียนบ้านดู่ทุ่งคำบอน
  • โรงเรียนบ้านดู่ทุ่ง  สร้างเมื่อวันที่  16  มิถุนายน  พ.ศ.  2466  โดยรองอำมาตย์เอกหลวงศักดิ์รัตนเขต

    เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา  พ.ศ. 2464  ดำรงอยู่ได้ด้วยเงินศึกษาพลี  แรกตั้งมีครู  5  คนนักเรียน  188  คน    ทำการสอนตั้งแต่ชั้น  ป.1 - ป.2  โดยมีนักเรียนจากบ้านดู่ทุ่ง   บ้านพลับ    บ้านคำบอน  บ้านหนองคำ   บ้านผือ  และบ้านสามเพีย  มาเข้าเรียน    นับตั้งแต่ตั้งโรงเรียนมามีการเปลี่ยนแปลง  ดังนี้

                    วันที่  7  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2466  ทางราชการได้แต่งตั้งนายผัน    วงศ์อนันต์    มาเป็นครูใหญ่แทน นายจันทร์   ศิริโสม  วันที่  26  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2468  ทางราชการได้ย้ายนายผัน   วงศ์อนันต์ ไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำโผ่  และแต่งตั้งนายทา   ยาวะโนภาส  มาเป็นครูใหญ่แทน  ต่อมาเมื่อวันที่  1  มกราคม  2468  นายทา   ยาวะโนภาส   และนายใบ   โสมาบุตร    ได้ลาออกจากราชการ ทางราชการจึงได้แต่งตั้ง  นายพร  แสงพันธ์  มาเป็นครูใหญ่    พร้อมด้วยนายทองสุข   วิเศษรัตน์    มาเป็นครูประจำชั้น ในระหว่างนี้ได้แยกกองลูกเสือออกจากกองอำเภอที่   26   มาตั้งเป็นกองลูกเสืออำเภอที่  52   ประจำตำบลดู่ทุ่ง  

                    ใน  พ.ศ.  2469 ทางราชการได้ย้ายนายพร     แสงพันธ์  เป็นครูใหญ่ในเมือง และได้แต่งตั้งนายสนิท   ไชยวิเศษ มาเป็นครูใหญ่แทน  พ.ศ. 2473  ทางราชการได้ย้ายนายจำนงค์    ศิลปชัย  ไปเป็นกสิกรรมที่ในตำบลในเมืองยโสธร  และได้แต่งตั้งนายเพ็ง    สีดาพันธ์  มาเป็นครูใหญ่แทน  ต่อมานายเพ็ง   สีดาพันธ์ ได้ย้ายไปเป็นครูใหญ่ในเมือง ทางราชการได้แต่งตั้งนายฤกษ์    วงศ์อนันต์ มาเป็นครูใหญ่แทน

                    พ.ศ.  2479  ทางราชการได้ย้ายนายฤกษ์    วงศ์อนันต์  ไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองหิน และได้แต่งตั้งนายสอน    เนาวโรจน์ มาเป็นครูใหญ่แทน จนถึงวันที่  19  เมษายน  2484  ทางราชการยุบโรงเรียนบ้านดู่ทุ่งไปรวมเรียนที่โรงเรียนบ้านน้ำโผ่  ทะเบียนวัสดุ  ครุภัณฑ์ต่าง ๆ  ของโรงเรียนบ้านดู่ทุ่ง ได้นำไปรวมไว้ที่โรงเรียนบ้านน้ำโผ่ทั้งหมด  นักเรียนจากโรงเรียนบ้านดู่ทุ่งไปเรียนร่วมกับโรงเรียนบ้านน้ำโผ่นานถึง 14  ปี

                    ต่อมาใน  พ.ศ.  2498   นายอุทัย    พิมพ์จำปา  กำนันตำบลดู่ทุ่ง   นายโสม  ศิริโสม    นายทา  พิมพ์จำปา  สารวัตรกำนัน  นายใบ โสมาบุตร  แพทย์ประจำตำบล  นายยอย  โสมะตะนัย     ผู้ใหญ่บ้านคำบอนตลอดทั้งราษฎรทั้งสองหมู่บ้านได้สละกำลังกาย  กำลังทรัพย์  สร้างอาคารเรียนขนาด    8  เมตร   ยาว  18  เมตรขึ้นในที่ดินของโรงเรียน ซึ่งมีอยู่แต่เดิมแล้ว สร้างอาคารเรียนรูปแบบ  ป.1  แล้วจึงขอแยกมาเป็นโรงเรียนสาขาโรงเรียนบ้านน้ำโผ่   ทางราชการได้เปิดเรียนเมื่อเดือนพฤษภาคม  พ.ศ.  2498    โดยมี นายวิเชียร   อาจรยางค์กูล ศึกษาธิการอำเภอมาเป็นประธานในพิธีเปิด    ให้ชื่อว่า   โรงเรียนบ้านดู่ทุ่ง   โดยแยกครูและนักเรียนมาทำการสอนที่โรงเรียนนี้ ในวันเปิดเรียนมีครู  3  คน    คือ นายจันทร์    ศรีวะรมย์  เป็นครูหัวหน้าสาขา     นายประสพ  ชิดชม   และนายสุทิน   คัมภ์ทวี   เป็นครูประจำชั้น  ทำการสอนตั้งแต่ชั้น  ป.1-4     มีนักเรียน  114  คน

                    ต่อมาทางราชการได้ย้ายนายบุญจันทร์   ศรีวะรมย์  ไปเป็นครูใหญ่บ้านเชือก  ตำบลเดิด และได้แต่งตั้งนายปั่น    พรหมบุตร  ไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านบาก  และได้แต่งตั้งนายอำพร   นิกรพล มาเป็นครูใหญ่แทน  ต่อมานายนายอำพร     นิกรพล    ได้ลาออกรับบำนาญทางราชการได้แต่งตั้ง  นายประสพ     ชิดชม    มาเป็นครูใหญ่แทน  เมื่อวันที่  28   มีนาคม  2501   ระยะนั้นได้ของบประมาณต่อเติมอาคารเรียนเป็นเงินงบประมาณ  20,000  บาท (สองหมื่นบาท)  สร้างเสร็จเมื่อวันที่  13  มีนาคม  2502

                    วันที่  21  ตุลาคม  2511  ทางราชการได้ย้ายนายประสพ    ชิดชม  ไปเป็นครูใหญ่บ้านน้ำโผ่ และได้แต่งตั้งนายเภรี    พิมพ์พรรค์  มาเป็นครูใหญ่แทน  เมื่อวันที่  1  มิถุนายน  2512

                    วันที่  30  กันยายน   2513    ทางราชการได้สั่งให้นายเภรี    พมพ์พรรค์  ไปช่วยราชการที่แผนกศึกษาธิการอำเภอและได้แต่งตั้งนายอุทัย   โคตรสมบัติ  ครูตรีโรงเรียนบ้านคุยตับเต่ามารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่  เมื่อวันที่  1  เมษายน  2515

                    ต่อมาทางราชการได้ย้ายนายอุทัย   โคตรสมบัติ  ไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านใหม่ชุมพร  เมื่อ  พ.ศ.  2521  และแต่งตั้งนายวิเชียร   สิงหมาตย์  ครูใหญ่โรงเรียนบ้านใหม่ชุมพร มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่บ้านดู่ทุ่งและต่อมาเมื่อ  พ.ศ.  2524  นายวิเชียร   ศิริโสม  ลาออกจากราชการ ทางราชการจึงแต่งตั้งนายเรียง   จันทร์แจ้งดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน

                    ต่อมาทางราชกรได้ย้ายนายเรียง    จันทร์แจ้ง ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านสำราญ  เมื่อวันที่ 12  มกราคม  2531  และแต่งตั้งนายสุวิชช์   ศรีใส  มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่บ้านดู่ทุ่งแทน   วันที่  10  มิถุนายน  2531  ทางราชการได้แต่งตั้งนายปิยะ   โนรีรัตน์  อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำคำน้อยมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านดู่ทุ่ง และแต่งตั้งให้

    นายสุวิชช์   ศรีใส  ไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้าน น้ำคำน้อยแทน

                    ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่  พ.ศ.  2515-2534  ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอาคารสถานที่  วัสดุ  ครุภัณฑ์

    ที่ควรบันทึกไว้  ดังนี้

                    พ.ศ.  2515   คณะครู   กรรมการศึกษา   ชาวบ้าน  ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาด    6 x 18   เมตร

     คิดเป็นเงินประมาณ  25,000  บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  เพื่อใช้เป็นอาคารเรียน  ป.5

                    พระภิกษุเทพ  อาภาภิรชุม  เจ้าอาวาสวัดใหญ่เทพนิมิต  ได้มอบเงินจำนวน  1,500  บาท (หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน)  ซื้อเสาธงเหล็กให้โรงเรียน  และได้รับเงินงบประมาณจากภาษีบำรุงท้องที่  1,700  บาท (หนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) มาสร้างบ่อบาดาล  1  ที่

                    พ.ศ.  2517  ได้รับเงินงบประมาณจำนวน  25,000  บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  สร้างบ้านพักครู 1  หลัง

                    พ.ศ.  2518  ได้รับเงินงบประมาณจำนวน  200,000  บาท (สองแสนบาทถ้วน)  สร้างอาคารเรียนแบบ

     ป.1 ซ.  ขนาด   8 x 45   เมตร จำนวน  1  หลัง  5  ห้องเรียน  สำหรับอาคารเรียนชั้น ป.5  ซึ่งสร้างเมื่อ  พ.ศ. 2515  โดยเงินบริจาคของคณะกรรมการศึกษาและชาวบ้านนั้น ได้รื้อถอนไปสร้างห้องสำนักงานโรงเรียนบ้านดู่ทุ่ง  (ตามหนังสืออนุญาตรื้อถอนที่  ศธ 145201/1941  ลงวันที่  9  ตุลาคม  2528)  นอกจากนั้นได้ขออนุญาตรื้อถอนอาคารเรียนแบบ  ป.1 ซ  ซึ่งสร้างเมื่อ  พ.ศ.  2518  และได้รับอนุญาตรื้อถอนตามหนังสือสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองยโสธร  ที่  ศธ  145201/1941  ลงวันที่  9  ตุลาคม  2528

                    ต่อมานายเปรม   แก่นพุฒิ  ได้บริจาคนาฬิกา  แบบ  Supry  Delesk  จำนวน  1  เรือน  คิดเป็นเงิน  1,900  บาท (หนึ่งพันเก้าร้อยบาทถ้วน) ให้กับโรงเรียน

                    พ.ศ.  2519  ได้รับงบประมาณ  22,000  บาท(สองหมื่นสองพันบาทถ้วน)  จากสภาตำบลดู่ทุ่ง มาซ่อมแซมอาคารชั่วคราว และอาคารนี้ ได้ถูกรื้อถอนไปสร้างอาคารสำนักงาน

    โรงเรียนบ้านดู่ทุ่ง

                    พ.ศ.  2521  ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน  1  หลัง  จำนวนเงิน  15,000  บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และได้รับงบประมาณจากจังหวัดมาซื้อวัสดุเทพื้นห้องประชุม เป็นเงิน 5,000  บาท(ห้าพันบาทถ้วน) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนจากห้องประชุมเป็นสำนักงานโรงเรียนบ้านดู่ทุ่ง

                    พ.ศ.  2524  ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมขนาด  4  ที่  จำนวนเงิน  25,000  บาท(สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  และได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน   1  ที่    ขนาด  150 x 3  เมตร    เป็นจำนวนเงิน  2,600  บาท (สองพันหกร้อยบาทถ้วน)

                    พ.ศ.  2525  ได้รับงบประมาณจำนวน  480,000 บาท(สี่แสนแปดหมื่นบาทถ้วน)  มาสร้างอาคารเรียนแบบ  สปช.102/2526  ขนาด  3  ห้องเรียน  จำนวน  1  หลัง

                    นายประโยชน์   ได้เจาะบาดาลให้โรงเรียน  2  บ่อ  เป็นเงิน  2,600  บาท(สองพันหกร้อยบาทถ้วน)

    และได้รับงบประมาณจากนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง  จำนวน  4,500  บาท(สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน)

     เพื่อจัดทำห้องสมุดโรงเรียน

                    พ.ศ.  2526  นักศึกษาพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม  ได้มาสร้างสนามวอลเลย์บอลชั่วคราว  สวนหย่อมและเรือนเพาะชำ โดยใช้งบประมาณจำนวน  3,000 บาท(สามพันบาทถ้วน)

                    พ.ศ.  2527   ได้รับงบประมาณโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทยากจน (กศ.พช.)จำนวน  49,000 บาท (สี่หมื่นเก้าพันบาทถ้วน)  เพื่อจัดซื้อวัสดุและหอกระจายข่าว  นอกจากนี้ได้รับงบประมาณ  85,000  บาท(แปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  มาสร้างสนามวอลเลย์บอลและสนามฟุตบอล

                    พ.ศ.  2529   ได้รับงบประมาณ  800,000  บาท(แปดแสนบาทถ้วน)  สร้างอาคารเรียนแบบ  สปช.105/2526  ขนาด  4  ห้องเรียน  จำนวน  1  หลัง

                    ได้รับงบประมาณสร้างส้วมแบบ  สปช.601/2526  จำนวน  20,000  บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)   1  หลัง  จำนวน  2  ที่

                    พ.ศ.  2530   ได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน  แบบ  ฝ.33  จำนวน  3  ถัง  เป็นเงิน  36,000 บาท (สามหมื่นหกพันบาทถ้วน)

                      ได้รับงบประมาณก่อสร้างเรือนเพาะชำ  1  หลัง  จำนวนเงิน  15,000  บาท(หนึ่งหมื่นห้าพัน

    บาทถ้วน)

                    พ.ศ.  2533   ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมแบบ  สปช.601/2526   จำนวน  2  หลัง   8   ที่

                    -ได้รับงบประมาณพัฒนาจังหวัดจาก  ส.ส.พีระพันธ์   พาลุสุข  จัดทำประปาโรงเรียน  เป็นเงิน  8,000 บาท(แปดพันบาทถ้วน)  และได้รับเงินจากผ้าป่ากรุงเทพฯ  สมทบอีกเป็นเงิน  10,000  บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

                    พ.ศ.  2534   ได้รับเงินจากคณะผ้าป่ากรุงเทพฯ  ซื้อกลองพาเหรด  จำนวน  1  ชุด เป็นเงิน  12,500 

    บาท(หนึ่งหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน)

                    พ.ศ.  2555   ได้รับเงินจาก สส.งบแปรญัตติ   ได้จัดซื้อครุภัณฑ์ห้องสมุด  ปรับปรุงห้องสมุด

    เป็นเงิน  198,000 บาท (หนึ่งแสนเก้าหมี่นแปดพันบาทถ้วน)

                    พ.ศ.  2556   ได้รับเงินจากโรงเรียนดีศรีตำบลรวมเป็นเงิน  1,000,000  บาท โดยได้จัดสรรดังนี้

    1. ได้ปรับปรุงห้องเรียนปูพื้นกระเบื้องจำนวน                          =           410,800                   บาท  

    2.  จัดซื้อครุภัณฑ์การศีกษา                                                              =             150,000     บาท                

    3.  จัดซื้อปรับปรุงห้องสมุด/ห้องคอมพิวเตอร์                             =             400,000      บาท   

    4.  จัดซื้อคอมพิวเตอร์พกพา(แท็ปเล็ต)                                          =               15,000                     บาท

    5.  จัดซื้อโทรทัศน์สีสำหรับห้องเรียนคอมพิวเตอร์พกพา          =               30,000                     บาท

                    พ.ศ.  2556   ได้รับเงินจากคณะผ้าป่ากรุงเทพฯ  ทำถนนคอนกรีตและปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ 

    เป็นเงิน  600,069  บาท(หกแสนหกสิบเก้าบาทถ้วน)

                    ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2466  จนถึงปัจจุบัน   มีผู้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่   อาจารย์ใหญ่  และ

    ผู้อำนวยการโรงเรียน  ดังนี้

                    1.นายจันทร์          ศิริโสม                   ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2466-2466)

                    2.นายผัน               วงศ์อนันต์             ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2466-2468)

                    3.นายหา               ยาวะโนภาส         ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2468-2469)

                    4.นายพร               แสงพันธ์               ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2469-2469)

                    5.นายสนิท           ไชยวิเศษ               ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2469-2472)

                    6.นายแฉล้ม         ณุวงษ์ศรี                ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2472-2472)

                    7.นายจำนง           ศิลปะชัย                ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2472-2473)

                    8.นายเพ็ง              ศรีดาพันธ์             ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2473-2477)

                    9.นายฤกษ์            วงศ์อนันต์             ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2477-2479)

                    10.นายสอน         เนาวโรจน์             ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2479-2484)

                    11.นายบุญจันทร์   ศรีวะรมย์           ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2484-2499)

                    12.นายปั่น            พรหมบุตร            ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2499-2500)

                    13.นายอำพร        นิกรพล                  ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2500-2500)

                    14.นายประสพ    ชิดชม                    ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2501-2511)

                    15.นายเภรี            พิมพ์พรรค์            ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2511-2513)

                    16.นายอุทัย          โคตรสมบัติ          ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2513-2521)

                    17.นายวิเชียร       สิงหมาตย์             ตำแหน่ง                ครูใหญ่  (พ.ศ.  2521-2524)

                    18.นายเรียง          จันทร์แจ้ง              ตำแหน่ง                ครูใหญ่, อาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.  2524-2531)

                    19.นายสุวิชช์       ศรีใส                      ตำแหน่ง                อาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.  2531-2531)

                    20.นายปิยะ          โนรีรัตน์                ตำแหน่ง                อาจารย์ใหญ่, ผู้อำนวยการ (พ.ศ. 2531-2545)

                    21.นายศุภลักษณ์   ปุระมงคล          ตำแหน่ง                 ผู้อำนวยการโรงเรียน (พ.ศ. 2545-2547)

                    22.นายเสนก        เพิ่มพูล                  ตำแหน่ง                ผู้อำนวยการโรงเรียน(พ.ศ. 2547-2564)

                   23. นายกำจัด  แสนจันทร์                 ตำแหน่ง              ผู้อำนวยการโรงเรียน  (พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน)

                    ในปี พ.ศ. 2537 ได้รับอนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งจัดการเรียนสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปี พ.ศ. 2538 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็นโรงเรียนบ้านดู่ทุ่งคำบอน  โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดยโสธร


    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2022-08-14 20:35:05 น.

โรงเรียนบ้านดู่ทุ่งคำบอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 โทรศัพท์: 085-682-5768 อีเมล์: [email protected]
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]