โรงเรียนบ้านหนองเป็ด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
 

  • แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองเป็ด
  • รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

    (Self-Assessment  Report : SAR)

    ระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน

    ปีการศึกษา ๒๕๖๕

     

      

      

     

     

     

    โรงเรียนบ้านหนองเป็ด

    ตำบลหนองเป็ด อำเภอเมือง

     

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต ๑

    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


     

     

                                                 คำนำ

                รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา  (Self-Assessment  Report : SAR)  โรงเรียนบ้านหนองเป็ด  ปีการศึกษา  ๒๕๖5  เป็นการสรุปผลการจัดการศึกษา  ที่สอดคล้องกับบริบท  สภาพ  และความต้องการของสถานศึกษา  สะท้อนผลคุณภาพของการดำเนินงานของสถานศึกษา  โดยนำเสนอข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของสถานศึกษา  และมุ่งเน้นตอบคำถาม  ๓  ข้อ  คือ  ๑)มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับใด  ๒)ข้อมูลหลักฐานและเอกสารเชิงประจักษ์สนับสนุนมีอะไรบ้าง  และ  ๓)แนวทางการพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างไร  ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย  จำนวน  ๓  มาตรฐาน  ได้แก่  คุณภาพของเด็ก  กระบวนการบริหารและการจัดการ  และการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  ๓  มาตรฐาน  ได้แก่  คุณภาพผู้เรียน  กระบวนการบริหารและการจัดการ  และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อเตรียมความพร้อมรับในการประเมินคุณภาพภายนอก 

                หวังเป็นอย่างยิ่งว่า  รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา  (Self-Assessment  Report : SAR)  จะเป็นสารสนเทศสำคัญที่สถานศึกษาจะนำไปใช้พัฒนาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานและดียิ่งขึ้นต่อไป

     

                                                                  

     

                                                                                     

                                                                                           นายชัยวุฒิ   ศิวิรัตน์

                                                                                  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองเป็ด

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    สารบัญ

     

     

    หน้า

    คำนำ……………………………………………………………………………….…………………………………….……………….  

    สารบัญ...................................................................................................................................................

    บทสรุปการประเมินตนเองของสถานศึกษา  (Self-Assessment  Report: SAR) 

            ระดับปฐมวัย…………………………………………………………………………………………………………………

    บทสรุปการประเมินตนเองของสถานศึกษา  (Self-Assessment  Report: SAR)  ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน.....................................................................................................................................

    ส่วนที่ ๑  ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา....……………………………………………………………………………

        1

    ๑.๑  ข้อมูลทั่วไป....................................................................................................................

     1

    ๑.๒  ข้อมูลผู้บริหาร...............................................................................................................

    1

    ๑.๓  ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา......................................................................................

    1

    ๑.๔  ข้อมูลนักเรียน................................................................................................................

     2

    ส่วนที่ ๒  ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา....................................................................................

    3

    ๒.๑  ระดับปฐมวัย..................................................................................................................

    3

    ๒.๒  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน..........................................................................................

    9

     

    ภาคผนวก................................................................................................................................................

      15

     

     

     

     

     

     

         

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    บทสรุป

    การประเมินตนเองของสถานศึกษา  (Self-Assessment  Report : SAR)

    โรงเรียนบ้านหนองเป็ด

     

    ระดับปฐมวัย

     

              โรงเรียนบ้านหนองเป็ดจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย มีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๒ – ๓

    รวม ๑๙ คน ครูผู้สอน 2 คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖5 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

     

    ๑. คุณภาพเด็ก

    ด้านร่างกาย ส่งเสริมการพัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกายอย่างเหมาะสมตามจินตนาการ

    เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายอย่างเหมาะสมกับวัย

    ด้านอารมณ์ จิตใจ วิเคราะห์และส่งเสริมการพัฒนาการด้านอารมณ์ ความรู้สึกได้อย่าง

    เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ กล้าแสดงออก มีความรับผิดชอบ

    ด้านสังคม ส่งเสริมให้สามารถช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ช่วยเหลือ

    ตนเองและผู้อื่นได้สมกับวัย สุภาพเรียบร้อย มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม  เล่นร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

    ด้านสติปัญญา ส่งเสริมให้รู้จักการแก้ปัญหา สามารถสื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐาน

     แสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย

     

              ๒. กระบวนการบริหารและการจัดการ

    มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็น

    รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น และการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ สามัคคี เสียสละ การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข

                        จัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียนและเหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย และผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ครูปฐมวัยทุกคนมีความรู้ความสี่ารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการประชุมสัมมนา กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมวันสำคัญ การเยี่ยมบ้านนักเรียน ฯลฯ

     

    ๓. การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

    จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุก ๆ ด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ครอบคลุม

    และเหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน จัดหาสื่อการเรียนรู้ ให้เหมาะสมและพอเพียงเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นและมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการจัดประสบการณ์และสืบค้นหาความรู้

    จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ห้องเรียนที่มี

    บรรยากาศแจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และปรับปรุงสภาพแวดล้อมพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ให้เหมาะสม ปลอดภัย และพอเพียง  ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเฟื้อต่อกันและกัน ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน

                        จัดหาและใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ อย่างเพียงพอและทั่วถึง

    ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตร

    ประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ  และการวิเคราะห์ผล ประเมินพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กแต่ละคนและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู      

    มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการกำหนดมาตรฐาน

    การศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 และมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี การนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

     

    ๑. ระดับคุณภาพ  ดี

     

    ๒. วิธีการพัฒนา/กระบวนการ ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

     

               ๒.๑ วิธีการพัฒนา/กระบวนการ

    1. คุณภาพของเด็ก ได้มีการพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์

    จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

                        2. กระบวนการบริหารและจัดการ จัดให้ครูมีเพียงพอกับชั้นเรียน จัดสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และสนับสนุนการจัดประสบการณ์

                        3. การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นอย่างมีความสุข มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

     

               ๒.๒ ผลการพัฒนา

    ด้านร่างกาย เด็กมีพัฒนาการ มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

    มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ คิดเป็นร้อยละ 90

                        ด้านอารมณ์ จิตใจ การควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้สนุกสนาน มีความสุขในการเรียนรู้ มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย คิดเป็นร้อยละ 100

                        ด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองได้ และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นักเรียนระดับปฐมวัยทุกคนช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง รู้จักการประหยัด พอเพียง มีคุณธรรม จริยธรรม มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน มีมารยาททางวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การทักทาย  มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ  100

                        ด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ นักเรียนระดับปฐมวัยทุกคน สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบ มีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจเรื่องง่าย ๆ ได้ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ  95

     

                ๒.๓ ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

                    1. โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ 

                    2. กิจกรรม/แผนการจัดประสบการณ์

                    3. รูปภาพ

                    4. ผลงานเด็ก

                ๕. คำสั่ง

                ๖. เกียรติบัตรการแข่งขันกีฬาระดับเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอรุณประเสริฐ ปีการศึกษา ๒๕๖5

    ๗. เกียรติบัตรการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ครั้งที่ ๖๘ (มหกรรมความสามารถ

    ทางศิลปหัตถกรรม วิชาการและเทคโนโลยีของนักเรียน) ปีการศึกษา ๒๕๖5 ระดับเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอรุณประเสริฐ   

     

    ๓. จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้สูงขึ้น

     

    จุดเด่น

    จุดที่ควรพัฒนา

             1. เด็กมีพัฒนาการสมดุล

             2. มีโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด่นชัด

    3. มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่นำสู่

    การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     

             1. การช่วยเหลือตนเองของนักเรียนทั้งที่บ้านและโรงเรียน

    2. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองให้มี

    ส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์เด็ก

    ๔. แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้สูงขึ้น

    ๑. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ 

    ๒. โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม    

    ๓. โครงการสร้างเสริมสุขภาพ

    4. จัดทำแผนพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งกระบวนการบริหารและการจัดการ

    5. จัดทำแผนพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา

     6. โครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

    บทสรุป

    การประเมินตนเองของสถานศึกษา  (Self-Assessment  Report : SAR)

    โรงเรียนบ้านหนองเป็ด

     

    ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     

    โรงเรียนบ้านหนองเป็ด จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา มีนักเรียน

    ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  73  คน ครูผู้สอน  5  คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖5 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

     

                        ๑. คุณภาพผู้เรียน มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น  มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และผลการอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดจัดแหล่งเรียนรู้ให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

     

                          ๒. กระบวนการบริหารและการจัดการ ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย บุคลากรมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( PLC : professional learning community) มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

     

                    ๓. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนำกระบวนการ PLC (professional learning community) เพื่อพัฒนาผู้เรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)  ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ครูผลิตสื่อนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม นักเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อ เทคโนโลยีที่หลากหลาย ครูร่วมกันออกแบบการวัดผลและประเมินผลเพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 

     

    ๑. ระดับคุณภาพ    ดี

     

    ๒. วิธีการพัฒนา/กระบวนการ ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

                         จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดี

    ผลที่สนับสนุนการประเมินตนเอง ดังนี้

             

                ๒.๑ วิธีการพัฒนา/กระบวนการ

                          ๑. คุณภาพผู้เรียน กำหนดมาตรฐานการศึกษา จำนวน 2 ด้าน คือ

                        1.1 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดี รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560           

                        1.2 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

     

                        2. กระบวนการบริหารและการจัดการ ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาในการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจน การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพ ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน

     

     

     

    3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดำเนินงาน โครงการ

    กิจกรรมอย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน

     

              ๒.๒ ผลการพัฒนา

                           ๑. คุณภาพผู้เรียน       

                         1.1 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด

                         1.2 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

     

                           2. กระบวนการบริหารและการจัดการ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด

     

                           3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน และมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกห้องเรียน มีครูครบขั้น ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาผ่าน Dltv และจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน

     

                ๒.๓ ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

                    1. โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ 

                    2. กิจกรรม/แผนการจัดการเรียนรู้

                    3. รูปภาพ

                    4. ผลงานนักเรียน

                ๕. คำสั่ง

                ๖. เกียรติบัตรการแข่งขันกีฬาระดับเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอรุณประเสริฐ ปีการศึกษา ๒๕๖๔

              ๗. เกียรติบัตรจากการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ครั้งที่ ๖๘ (มหกรรมความสามารถ

    ทางศิลปหัตถกรรม วิชาการและเทคโนโลยีของนักเรียน) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ระดับเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอรุณประเสริฐ  / ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑

     

     

     

     

     

    ๓. จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้สูงขึ้น

     

    จุดเด่น

    จุดที่ควรพัฒนา

    1. สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น

             2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา

             3. การบริหารจัดการศึกษา และการมี

     ส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

             4. จัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 

            5. ครูมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน

            6. นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

    1. ผลการประเมินระดับชาติในบางกลุ่มสาระ

    2. กิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    3.
    ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2023-07-11 09:20:22 น.


โรงเรียนบ้านหนองเป็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 โทรศัพท์: 045750078 อีเมล์: [email protected]
เว็บมาสเตอร์:: Ⓒ ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา  WEB School CMS V.2 [ติดต่อทีมพัฒนา]